ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับ ญ.หญิง กับ ย.ยักษ์ในภาษาไทย เทียบกับ ย.ยุง และ ย.ยา ในภาษาลาว จากบล็อกของพี่ชาย http://thep.blogspot.com/2011/02/esaan-language-tidbits.html
อ่านแล้วก็อดต่อความเกี่ยวกับ ญ.หญิง ไม่ได้ อันที่จริงอยากจะเขียนเรื่อง "นิรุกติศาสตร์ของ ญ.หญิง" แต่ภูมิความรู้ยังไม่ถึง จึงขอเขียนแบบเท่าที่รู้ก่อน
ญ.หญิงที่ผมจะกล่าวถึงคือ ญ.หญิง พยัญชนะตัวที่ 10ในภาษาสันสกฤตคือ ज्ञ และภาษากรีก, ละติน, ฝรั่งเศส (ตระกูลอินโด-ยูโรเปียน) คือ gn
ถ้าเราเปิดดูพจนานุกรมไทยคำว่า "ญาณ" จะเขียนว่ามาจากภาษาบาลีสันสกฤตว่า ชฺญาน แต่พอค้นดูในพจนานุกรมภาษาสันสกฤต ก็พบว่าเขาเขียนว่า ज्ञान ถ้าถอดตัวอักษรออกมาก็เป็นคำว่า "ญาน" ซึ่งไม่ได้ควบช.ช้าง กับ ญ.หญิงแบบที่เขียนในพจนานุกรมไทย มีความหมายว่าความรู้ แต่วิธีการอ่านออกเสียงค่อนข้างยาก ใน wikipedia อ่านว่า Jñāna หรือ gñāna แต่คนทั่วไปนิยมเขียนว่า Gyan http://en.wikipedia.org/wiki/Gyan_(sanskrit)
แต่มีคนอินเดียเคยบอกว่าตัวอักษรนี้เลิกใช้ไปแล้ว เมื่อเปิดในพจนานุกรมภาษาฮินดี ก็ไม่มีคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรนี้แล้ว คงเหมือน ฃ.ฃวด กับ ฅ.ฅนของไทยที่เลิกใช้แล้ว แต่คนอินเดียทุกคนเป็นอันรู้กันว่าตัว ญ.นี้คือ ญ.ญาน ที่แปลว่านักปราชญ์ ผมก็เลยถามเขาต่อว่าอ่านออกเสียงอย่างไร สอบเสียงกันหลายรอบจนกระทั่งได้รู้ว่า อ่านออกเสียงว่า กฺญาน คือต้องอ่านออกเสียง ก.ไก่กับ ญ.หญิงให้เป็นเสียงเดียวกัน หรือลองนึกถึงคำว่า จักรยาน แต่อ่านออกเสียงแบบลาวว่า จักกะยาน โดย ย.ตัวนี้อ่านเป็นเสียง ญ.หญิง คือเป็นเสียงนาสิก (เสียงนาสิกคือถ้าบีบจมูกแล้วเสียงต้องเปลี่ยน ถ้าบีบจมูกแล้วอ่านคำว่า "ยาน" ได้เสียงเหมือนกับไม่บีบจมูกแสดงว่าออกเสียงผิด) อ่าน กะยาน หรือ กญาน เร็ว ๆ จนเกือบคล้ายคำว่า เกียน ลากเสียงยาว ๆนั่นแหละคือคำว่า Gyan ที่อ่านแบบอินเดีย
สรุปว่า ญ.หญิงในภาษาสันสกฤตมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับความรู้ เกี่ยวกับนักปราชญ์ และเนื่องจากภาษาสันสกฤตกับภาษาละตินมีรากเหง้าเดียวกัน ก็น่าสงสัยว่าภาษาละตินคงจะมี ญ.หญิง อยู่เหมือนกัน
ญ.หญิงในภาษาละตินน่าจะเป็นตัวอักษร "gn" เช่นคำว่า gnosis ในภาษากรีกและละติน ที่แปลว่าความรู้ ซึ่งเป็นรากของคำในภาษาอังกฤษหลายคำเช่น diagnosis ("เรียนรู้แบบแยกส่วน" แปลว่าวินิจฉัย), prognosis ("รู้ก่อน" แปลว่าพยากรณ์) และคำที่คุ้นที่สุดก็คือคำว่า know ที่แปลว่ารู้นั่นเอง ทำไมคำนี้ต้องมีตัว k อยู่หน้าตัว n ก็เพราะเมื่อก่อนมันเคยเป็นตัวอักษรเดี่ยวตัวเดียวมาก่อน พอตัวอักษรนี้หายไป ก็เลยเอาตัวอักษรปัจจุบัน 2 ตัวไปใช้แทน เช่นเดียวกับ ch และ sh
แล้วเราจะอ่านออกเสียง gn นี้อย่างไร คำแรกที่ผมนึกถึงคือคำว่า cognac ที่สมัยเด็ก ๆ ผมเคยอ่านว่า "ค็อกแหน็ก" ต่อมาถึงรู้ว่าเขาเรียกว่า "คอนหยัก" และคนฝรั่งเศสอ่านว่า "คอญัค" ที่อ่านได้อย่างนี้ก็เพราะ gn เคยเป็นตัวอักษรเดี่ยวที่มีเสียง ญ. นั่นเอง นอกจากนี้เรายังพบเสียงแบบนี้ในคำว่า champagne แชมเปญ และ Cologne โคโลญ ส่วนคำว่า signal ที่อังกฤษอ่านว่า ซิกนัล นั้นฝรั่งเศสอ่านว่า สิญัล พอถึงเมืองไทยกลายเป็นคำว่าสัญญาณ ซึ่งคงรากของ ญ.หญิงไว้อย่างสมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ ญ.หญิงในภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียน จึงเป็นตัวอักษรที่ดูดีมีชาติตระกูล คือเป็นอักษรที่แสดงถึงความรู้ ปัญญา ญาณทัสนะ นักปราชญ์ หรือวิญญูชน
แต่พอมาถึงภาษาไทย-ลาวแล้วไม่เรียกว่า ญ.ญาณ แต่เราเรียก ญ.หญิง เพราะในภาษาไทยโบราณ หรือภาษาลาว ภาษาล้านนา เรียกผู้หญิง ว่าแม่ญีง ซึ่งบังเอิญเป็นเสียงนาสิกเหมือนกัน จึงต้องนำพยัญชนะตัวนี้มาใช้ในการออกเสียง จะใช้ ย.ยักษ์มาใช้ออกเสียงแทนไม่ได้ คำไทยอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ญ.หญิง เช่นคำว่า ใหญ่ หญ้า ญวน (ซึ่งเป็นคนละชนชาติกับยวนที่หมายถึงคนในอาณาจักรโยนก)
ที่ผมรู้สึกสงสัยคือเสียง ญ. นี้ไม่มีปรากฏในภาษาจีน หรือญี่ปุ่น ผมก็เลยตั้งทฤษฎีเอาเองว่าเสียง ญ.หญิงในภาษาไทย หรือ ย.ยุง ในภาษาลาวเป็นเสียงของภาษาดั้งเดิมของเราที่นี่ ไม่ได้ยืมมาจากภาษาอื่น หรืออื่นที่ว่าก็อาจจะแค่ขอม ไม่ได้ยืมมาจากอินเดียหรือจีนเหมือนคำส่วนใหญ่ในภาษาไทย ด้วยเหตุนี้เมื่อผมมองตัวอักษร ญ.หญิงผ่านแว่นตาของผม เลนส์ข้างซ้ายผมจะมองเห็นนักปราชญ์อินเดียและยุโรป ส่วนเลนส์ขวาผมจะมองเห็นความยิ่งใหญ่และ"ญืน"ยาวของชนชาติไทดั้งเดิมที่ตั้งรกรากบนแหลมทองนี้มานานนับพันปี
ไม่ใช่แค่ภาพของผู้หญิงโสภา
วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
หนูน้อยหมวกแดง
เมื่อวันก่อน ผมได้ดูหนังเรื่อง Red Riding Hood โดยไม่ได้รู้มาก่อนว่าเป็นการนำนิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดงมาแปลงใหม่ ดูจบแล้วได้ข้อคิดอะไรอีกหลายข้อ และพอกลับมาเปิดดู Wikipedia คำว่า Little Red Riding Hood ก็พบเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมาย
เมื่อพูดถึงนิทานเรื่องนี้ เราหลายคนคงจำกันได้ว่าหนูน้อยหมวกแดงไปเยี่ยมคุณยายที่บ้านในป่า แต่คุณยายโดนหมาป่ากินไปก่อน เมื่อหนูน้อยหมวกแดงตามไปก็โดนกินอีกคน จนกระทั่งมีนายพรานมาพบ และช่วยเหลือออกมาโดยใช้กรรไกรผ่าท้องหมาป่าช่วยยายหลานออกมา แล้วนำก้อนหินใส่เข้าไปแทน หมาป่าตื่นขึ้นมา ไปกินน้ำ แล้วก็ตกน้ำจมน้ำตาย จบ
ด้วยความเป็นนิทานเด็ก ตัวละครแต่ละตัวจะไม่มีความซับซ้อน หนูน้อยหมวกแดงก็คือความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา หมาป่าคือความชั่วร้าย และนายพรานคือผู้ช่วยเหลือ
ผมชอบการบิดเนื้อหาจากนิทานเด็ก จนกลายมาเป็นบทภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะสร้างความสลับซับซ้อนของจิตใจตัวละครได้เหมือนกับจิตใจปุถุชนที่มีโลภโกรธหลงในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ใช่แค่มองมุมเดียวเหมือนในนิทาน
โดยการบิดเนื้อหาประการแรกคือเปลี่ยนจากหมาป่าธรรมดา (wolf) เป็นมนุษย์หมาป่า (werewolf) แค่นี้ก็จะมีอะไรตามมาอีกเยอะ เช่น พระจันทร์เต็มดวง คนกลายร่างเป็นหมาป่า คนโดนหมาป่ากัดแล้วกลายเป็นมนุษย์หมาป่า การฆ่ามนุษย์หมาป่าด้วยอาวุธที่ทำจากเงิน (กลายเป็นที่มาของสำนวน silver bullet ในภาษาอังกฤษ)ฯลฯ
บิดเนื้อหาประการที่สอง ก็คือเนื่องจากมนุษย์หมาป่าจะคืนร่างเป็นมนุษย์ได้ในตอนกลางวัน ดังนั้นคนในหมู่บ้านจึงไม่มีทางรู้ว่าใครกันแน่เป็นมนุษย์หมาป่าตนนั้น มุมสำคัญของเนื้อหาอยู่ตอนเกือบจบเมื่อสาวน้่อยหมวกแดงได้รู้ว่ามนุษย์หมาป่าตนนั้น แท้จริงแล้วคือพ่อของเธอเอง ซึ่งก็หวังดีกับเธอ จะมอบรอยกัดเพื่อสืบทอดความเป็นมนุษย์หมาป่าอย่างสมบูรณ์ให้เธอเพื่อกำลังที่กล้าแข็งขึ้นจากรุ่นปู่สู่รุ่นพ่อ จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก แต่ท้ายที่สุด เธอไม่ยอมรับรอยกัดนั้น แต่กลับร่วมมือกับคนรัก ฆ่าพ่อของเธอตายด้วยอาวุธที่ทำจากเงิน
เหมือน ๆ ว่าหนังจะจบแค่นั้น เพราะอสูรร้้ายได้ถูกกำจัดแล้ว แต่สาวหมวกแดงกลับมารู้ภายหลังว่าคนรักของเธอก็ถูกพ่อของเธอกัดไปแล้วในระหว่างต่อสู้ แต่สาวหมวกแดงเลือกที่จะไม่ฆ่าคนรักของตน ในทางกลับกัน เธอเลือกที่จะอาศัยอยู่บ้านกลางป่าแทนย่าของเธอ และตอนจบเธอก็ส่งรอยยิ้มให้กับหมาป่าในคืนเดือนเพ็ญ เหมือนกับรู้ว่านั่นคือคนรักของเธอนั่นเอง
ผมคิดต่อไปเองว่า ต่อมาเธอก็คงมีลูกที่มีสายเลือดมนุษย์หมาป่าซึ่งจะแข็งแกร่งกว่ารุ่นพ่อเธอขึ้นไปอีก แล้วเรื่องก็จะเกิดวนเวียนต่อไป
ย้อนกลับไปมองสัญลักษณ์ของตัวละครในนิทาน ทำให้ผมมองเห็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญ หนูน้อยหมวกแดงในนิทานเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ แต่สาวหมวกแดงในหนัง เป็นความบริสุทธิ์ที่มาทราบภายหลังว่าตนเป็นสายเลือดของความชั่วร้ายที่น่าเกลียดชัง การที่เธอเลือกฆ่าพ่อของตน (ในขณะที่อยู่ในร่างมนุษย์ ไม่ใช่ในร่างหมาป่า) ดูง่าย ๆ เหมือนว่าธรรมะย่อมต้องพิฆาตอธรรม แต่มาลองคิดดูอีกที พ่อของเธอก็ไม่ได้มีเจตนาจะทำร้าย กลับมีเจตนาดีที่จะเสริมพละกำลังและอำนาจให้กับเธอเท่านั้น และเป็นเจตนาดีที่แสดงออกทั้งในขณะที่เป็นมนุษย์และขณะเป็นหมาป่าด้วย
แต่เธอก็ฆ่าพ่อของเธอ... ตรงนี้ที่ทำให้ภาพลักษณ์ความบริสุทธิ์ของเธอต้องถูกมองเสียใหม่
หลังจากมนุษย์หมาป่าถูกฆ่าตายไปแล้ว เมื่อเธอพบว่าแฟนของเธอถูกกัด ถ้าเธอคือความบริสุทธิ์ที่มีเจตนาจะพิฆาตอธรรม เธอก็ควรจะกำจัดแฟนของเธอเองด้วย แต่เธอกลับไม่ทำ ถ้าจะมองว่าความบริสุทธิ์ในขณะนั้นคือความเมตตาไว้ชีวิต ก็รู้สึกว่าจะสายเกินไปแล้ว
เอาล่ะ อย่าตำหนิสาวหมวกแดงเลย... กลับมามองตัวเราดีกว่า หลายครั้งเรารู้สึกว่าเราได้จัดการกับปัญหาบางอย่างลุล่วงไปแล้ว หรือได้จัดการกับคนสร้างปัญหาไปแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ก็จะหมดไป จนเราอาจลืมมองไปว่า ปัญหาบางอย่าง พฤติกรรมที่ไม่ีดีบางอย่างยังคงอยู่รายล้อมตัวเรา หรือแม้กระทั่งอยู่ในตัวเราเอง แต่เราแค่มองมันไม่เห็น เช่นเดียวกับที่สาวหมวกแดงที่ต้องการกำจัดหมาป่า กลับไม่รู้ตัวว่ามีตัวเองก็มีสายเลือดหมาป่าเช่นกัน บางครั้งเราไล่ตามจับการทุจริตในองค์กร แต่ไล่ไปไล่มากลับพบว่าเราเองก็เคยทำอะไรที่สุ่มเสี่ยงอย่างนั้นเหมือนกัน
แย่ยิ่งกว่านั้นคือ เมื่อมีปัญหาเดิมเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง แต่คนที่เป็นปัญหานั้นเป็นคนที่เรารักชอบ แทนที่เราจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการเด็ดขาดเหมือนเดิม เรากลับใช้วิธีประนีประนอม เช่นเดียวกับที่สาวหมวกแดงไม่ยอมฆ่าแฟนของตน เข้าข่าย Double Standard
จิตใจคนเราก็เช่นเดียวกัน จะรักษามาตรฐานของคุณธรรม ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นให้อยู่ระดับเดิมไปตลอดเป็นเรื่องที่ยาก และแม้จะืทำได้ ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าจะดีที่สุด เพราะคุณธรรมเป็นเรื่องที่ต้องปรับตามกาลเทศะ มากกว่าจะืทำให้คงที่ตายตัว
ภาษิตลาตินคำหนึ่งกล่าวไว้ว่า Summum jus, summa injuria การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดคือการทำร้ายอย่างทารุณ หรือ ความยุติธรรมสุดโต่งคือความอยุติธรรม
ดีชั่วตัดสินอย่างไร? เราเป็นคนดี แต่ไม่เต็ม 100% จะตัดสินคนอื่นได้หรือไม่? จะตัดสินอย่างไรให้ยุติธรรม? แท้จริงแล้วยุติธรรมคืออะไร?
นิทานหนูน้อยหมวกแดง ก็จบลงด้วยคำถามในใจ ต่าง ๆ นานา
วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552
Language is a plus (or a must)
เมื่อเดือนที่แล้ว ผมได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศเบลเยียม โดยบินผ่านเมืองแฟรงค์เฟิร์ท ประเทศเยอรมนี ทำให้ผมได้เห็นความแตกต่างของ 2 ประเทศนี้อย่างชัดเจน
ประเทศเบลเยียมมีภาษาราชการ 3 ภาษาคือฝรั่งเศส, เฟลมมิช (ดัตช์) และเยอรมัน ส่วนเยอรมนีมีภาษาเดียวคือภาษาเยอรมัน
ในระยะเวลา 4 วันในเบลเยียม ผมไม่เจอใครที่พูดอังกฤษไม่ได้ แต่ 1 วันในแฟรงค์เฟิร์ทผมได้เจอคนพูดอังกฤษไม่ได้มากกว่า 3 คน ทั้ง 3 คนเป็นคนเยอรมัน และเป็นคนขายของในตลาดนัดริมแม่น้ำ (ซึ่งควรจะเป็นอาชีพที่พูดอังกฤษได้มากที่สุด เพื่อเอาไว้พูดกับลูกค้าต่างชาติ) ส่วนคนเอเชียที่อาศัยในแฟรงค์เฟิร์ท พูดอังกฤษได้ดี
เนื่องที่เบลเยียมมีภาษาราชการถึง 3 ภาษา ซึ่งต้องเรียนในโรงเรียน การจะเรียนภาษาที่ 4 จึงเป็นเรื่องง่าย และภาษาที่ 4 ที่คนเบลเยียมนิยมจึงเป็นภาษาอังกฤษเพราะจะช่วยในการติดต่อสื่อสารได้อีกหลายประเทศ
พวกผมดำอย่างเราเจอฝรั่งพูดอังกฤษได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าใครได้ไปเยือนเยอรมันแล้วจะทราบว่าไม่ใช่ผมทองทุกคนหรอกที่จะพูดอังกฤษได้ เหตุการณ์ในเยอรมันทำให้ผมนึกย้อนกลับไปชื่นชมฝรั่งเบลเยียมที่เขาตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษแม้จะไม่ใช่ภาษาราชการของเขา และนี่น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีพอที่คนยุโรปจะเลือกเบลเยียมเป็นสำนักงานใหญ่ของ EU
นอกจากเรื่องภาษาแล้ว เบลเยียมยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งของยุโรป เพราะมีเมืองท่าสำคัญคือ Antwerp ด้านตะวันตกออกสู่ทะเล, ด้านเหนือเชื่อมไปถึง Rotterdam ในเนเธอร์แลนด์ เมืองท่าสำคัญอีกเมืองหนึ่งของยุโรป ด้านตะวันออกเชื่อมกับเยอรมันและโปแลนด์ ส่วนทิศใต้เชื่อมต่อกับฝรั่งเศสและสเปน เมื่อมองดูรถบรรทุกบนไฮเวย์ จึงพบรถบรรทุกสารพัดสัญชาติบนถนนของประเทศนี้
ในสายตาของผม เบลเยียมมีลักษณะเหมือนสิงคโปร์ คือเป็นประเทศขนาดเล็ก (แต่พื้นที่สิงคโปร์เล็กกว่าเบลเยียมประมาณ 40 เท่า แต่เบลเยียมยังเล็กกว่าไทยถึง 17 เท่า) ประชากรไม่มาก (สิงคโปร์เกือบ 5 ล้าน, เบลเยียมประมาณ 10 ล้าน) ไม่มีภาษาของตัวเอง, มีภาษาราชการหลายภาษา และมีเมืองท่าสำคัญ คนเบลเยียมกับคนสิงคโปร์จึงมีนิสัยที่เป็นมิตรเหมือนกัน ใครได้คุยกับคน 2 ประเทศนี้ จะรู้สึกสะดวกสบายใจกับความเป็นมิตรของเขา เราสามารถคุยปนกันหลาย ๆ ภาษาได้ และเขาพร้อมที่จะตอบเราได้หลายภาษาด้วย
อีกอย่างหนึ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติของคนที่สื่อสารได้หลายภาษา คือเขาจะเป็นนักฟังที่ดี และเป็นคนที่เข้าใจจิตใจคนอื่นได้เป็นอย่างดี เพราะต่างภาษากันจะมีวิธีการถ่ายทอดโลกทัศน์ออกมาเป็นคำพูดที่แตกต่างมุมมองกัน (ตามหลักวิชา psycholinguistics) เหมือนว่าเขาได้อีก 1 ภาษาเพิ่มขึ้นมาคือภาษาใจ เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของคน 2 ประเทศนี้
สำหรับคนทำงานในเบลเยียม การพูดได้ 4 ภาษาเป็นเรื่องปกติ หรืออาจจะเรียกว่าเป็นภาคบังคับ (must) ก็ได้ ถ้าใครพูดได้เกิน 4 ภาษาจึงจะเรียกว่า เป็นแต้มบวก (plus)
ในช่วงที่เดินทางระหว่างบรัสเซล (brussels) กับบรูจ (bruges) ผมได้คุยกับคนขับรถแท็กซีชื่อ โทนี ถามเขาว่าเขาพูดได้กี่ภาษา เขาบอกว่าพูดได้ 5 ภาษา ก็คือ 4 ภาษาบังคับ บวกกับอีกหนึ่งภาษาญี่ปุ่น ผมก็เลยซักต่อไป เขาบอกว่าเขาดูหนังเรื่อง "โชกุน" และชอบมาก จึงอยากจะเข้าใจให้ลึกซึ้งมากขึ้น เขาจึงเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น ซึ่งต่อมากลายเป็นแต้มบวกสำหรับงานของเขา คือเมื่อมีลูกค้า VIP จากญี่ปุ่นติดต่อมาเช่ารถจากบริษัทของเขา เขาก็จะเป็นคนขับรถให้ญี่ปุ่นเสมอ งานจึงมีไม่เคยขาด
ผู้บริหารอีกท่านหนึ่งที่ผมได้รู้จัก พูดได้ถึง 7 ภาษา คือ 4 ภาษาบังคับ บวกกับ สเปน โปรตุเกส อิตาลี เพราะท่านต้องทำงานติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป
อีก 1 ราย ผมไม่ได้เจอ แต่โทนีเล่าให้ผมฟังว่าชายคนนั้นอายุ 41 ปี พูดได้ 42 ภาษา! และเหตุผลในการเรียนภาษาของเขาคือเพื่อฝึกสมอง ไม่ใช่เพื่อติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่ไหน
ในขณะที่ประเทศไทยเพิ่งมาตื่นตัวเรื่อง bilingual school และเพิ่งเริ่มพูดกันว่าเด็กไทยน่าจะพูดภาษาที่ 3 แต่ที่เบลเยียม ถ้าคุณจะสมัครงาน คุณต้องโฆษณาตัวเองว่าพูดได้กี่ภาษา และอย่าหลงภาคภูมิถ้าคุณพูดได้แค่ 5 ภาษา เพราะยังมีคู่แข่งอีกเยอะ
โชคดีที่โทนีไม่ถามย้อนกลับว่าแล้วผมล่ะพูดได้กี่ภาษา ผมคงอายที่จะตอบว่าที่สื่อสารกันเข้าใจดีมีแค่ 3 ภาษาคือไทย, อังกฤษ และลาว
ส่วนภาษาจีนแต้จิ๋วพอสื่อสารได้ แต่ก็ใช้ได้เฉพาะในไทย เพราะคนจีนในจีนที่มี 1.3 พันล้านคน พูดแต้จิ๋วได้แค่ 3 ล้านคน ใน 4 อำเภอของจังหวัดเฉาโจว (chaozhou) เจอคนจีน 400 คน จะพูดแต้จิ๋วได้แค่คนเดียว
ภาษาจีนกลาง ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ผมก็ได้แค่งู ๆ ปลา ๆ ใช้ทำมาหากินไม่ได้
อย่าไปนับภาษาดัตช์, เยอรมัน และเกาหลีที่ได้แค่ Yes, no, O.K., thank you. (ต่ำกว่าระดับ งู ๆ ปลา ๆ)
กลับจากยุโรปคราวนี้ผมรู้สึกประทับใจความเป็นชาวเบลเยียม และทำให้ผมรู้สึกเลยว่าต้องเรียนภาษาอีกมาก แค่ 3 ภาษายังน้อยเกินไป
ประเทศเบลเยียมมีภาษาราชการ 3 ภาษาคือฝรั่งเศส, เฟลมมิช (ดัตช์) และเยอรมัน ส่วนเยอรมนีมีภาษาเดียวคือภาษาเยอรมัน
ในระยะเวลา 4 วันในเบลเยียม ผมไม่เจอใครที่พูดอังกฤษไม่ได้ แต่ 1 วันในแฟรงค์เฟิร์ทผมได้เจอคนพูดอังกฤษไม่ได้มากกว่า 3 คน ทั้ง 3 คนเป็นคนเยอรมัน และเป็นคนขายของในตลาดนัดริมแม่น้ำ (ซึ่งควรจะเป็นอาชีพที่พูดอังกฤษได้มากที่สุด เพื่อเอาไว้พูดกับลูกค้าต่างชาติ) ส่วนคนเอเชียที่อาศัยในแฟรงค์เฟิร์ท พูดอังกฤษได้ดี
เนื่องที่เบลเยียมมีภาษาราชการถึง 3 ภาษา ซึ่งต้องเรียนในโรงเรียน การจะเรียนภาษาที่ 4 จึงเป็นเรื่องง่าย และภาษาที่ 4 ที่คนเบลเยียมนิยมจึงเป็นภาษาอังกฤษเพราะจะช่วยในการติดต่อสื่อสารได้อีกหลายประเทศ
พวกผมดำอย่างเราเจอฝรั่งพูดอังกฤษได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าใครได้ไปเยือนเยอรมันแล้วจะทราบว่าไม่ใช่ผมทองทุกคนหรอกที่จะพูดอังกฤษได้ เหตุการณ์ในเยอรมันทำให้ผมนึกย้อนกลับไปชื่นชมฝรั่งเบลเยียมที่เขาตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษแม้จะไม่ใช่ภาษาราชการของเขา และนี่น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีพอที่คนยุโรปจะเลือกเบลเยียมเป็นสำนักงานใหญ่ของ EU
นอกจากเรื่องภาษาแล้ว เบลเยียมยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งของยุโรป เพราะมีเมืองท่าสำคัญคือ Antwerp ด้านตะวันตกออกสู่ทะเล, ด้านเหนือเชื่อมไปถึง Rotterdam ในเนเธอร์แลนด์ เมืองท่าสำคัญอีกเมืองหนึ่งของยุโรป ด้านตะวันออกเชื่อมกับเยอรมันและโปแลนด์ ส่วนทิศใต้เชื่อมต่อกับฝรั่งเศสและสเปน เมื่อมองดูรถบรรทุกบนไฮเวย์ จึงพบรถบรรทุกสารพัดสัญชาติบนถนนของประเทศนี้
ในสายตาของผม เบลเยียมมีลักษณะเหมือนสิงคโปร์ คือเป็นประเทศขนาดเล็ก (แต่พื้นที่สิงคโปร์เล็กกว่าเบลเยียมประมาณ 40 เท่า แต่เบลเยียมยังเล็กกว่าไทยถึง 17 เท่า) ประชากรไม่มาก (สิงคโปร์เกือบ 5 ล้าน, เบลเยียมประมาณ 10 ล้าน) ไม่มีภาษาของตัวเอง, มีภาษาราชการหลายภาษา และมีเมืองท่าสำคัญ คนเบลเยียมกับคนสิงคโปร์จึงมีนิสัยที่เป็นมิตรเหมือนกัน ใครได้คุยกับคน 2 ประเทศนี้ จะรู้สึกสะดวกสบายใจกับความเป็นมิตรของเขา เราสามารถคุยปนกันหลาย ๆ ภาษาได้ และเขาพร้อมที่จะตอบเราได้หลายภาษาด้วย
อีกอย่างหนึ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติของคนที่สื่อสารได้หลายภาษา คือเขาจะเป็นนักฟังที่ดี และเป็นคนที่เข้าใจจิตใจคนอื่นได้เป็นอย่างดี เพราะต่างภาษากันจะมีวิธีการถ่ายทอดโลกทัศน์ออกมาเป็นคำพูดที่แตกต่างมุมมองกัน (ตามหลักวิชา psycholinguistics) เหมือนว่าเขาได้อีก 1 ภาษาเพิ่มขึ้นมาคือภาษาใจ เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของคน 2 ประเทศนี้
สำหรับคนทำงานในเบลเยียม การพูดได้ 4 ภาษาเป็นเรื่องปกติ หรืออาจจะเรียกว่าเป็นภาคบังคับ (must) ก็ได้ ถ้าใครพูดได้เกิน 4 ภาษาจึงจะเรียกว่า เป็นแต้มบวก (plus)
ในช่วงที่เดินทางระหว่างบรัสเซล (brussels) กับบรูจ (bruges) ผมได้คุยกับคนขับรถแท็กซีชื่อ โทนี ถามเขาว่าเขาพูดได้กี่ภาษา เขาบอกว่าพูดได้ 5 ภาษา ก็คือ 4 ภาษาบังคับ บวกกับอีกหนึ่งภาษาญี่ปุ่น ผมก็เลยซักต่อไป เขาบอกว่าเขาดูหนังเรื่อง "โชกุน" และชอบมาก จึงอยากจะเข้าใจให้ลึกซึ้งมากขึ้น เขาจึงเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น ซึ่งต่อมากลายเป็นแต้มบวกสำหรับงานของเขา คือเมื่อมีลูกค้า VIP จากญี่ปุ่นติดต่อมาเช่ารถจากบริษัทของเขา เขาก็จะเป็นคนขับรถให้ญี่ปุ่นเสมอ งานจึงมีไม่เคยขาด
ผู้บริหารอีกท่านหนึ่งที่ผมได้รู้จัก พูดได้ถึง 7 ภาษา คือ 4 ภาษาบังคับ บวกกับ สเปน โปรตุเกส อิตาลี เพราะท่านต้องทำงานติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป
อีก 1 ราย ผมไม่ได้เจอ แต่โทนีเล่าให้ผมฟังว่าชายคนนั้นอายุ 41 ปี พูดได้ 42 ภาษา! และเหตุผลในการเรียนภาษาของเขาคือเพื่อฝึกสมอง ไม่ใช่เพื่อติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่ไหน
ในขณะที่ประเทศไทยเพิ่งมาตื่นตัวเรื่อง bilingual school และเพิ่งเริ่มพูดกันว่าเด็กไทยน่าจะพูดภาษาที่ 3 แต่ที่เบลเยียม ถ้าคุณจะสมัครงาน คุณต้องโฆษณาตัวเองว่าพูดได้กี่ภาษา และอย่าหลงภาคภูมิถ้าคุณพูดได้แค่ 5 ภาษา เพราะยังมีคู่แข่งอีกเยอะ
โชคดีที่โทนีไม่ถามย้อนกลับว่าแล้วผมล่ะพูดได้กี่ภาษา ผมคงอายที่จะตอบว่าที่สื่อสารกันเข้าใจดีมีแค่ 3 ภาษาคือไทย, อังกฤษ และลาว
ส่วนภาษาจีนแต้จิ๋วพอสื่อสารได้ แต่ก็ใช้ได้เฉพาะในไทย เพราะคนจีนในจีนที่มี 1.3 พันล้านคน พูดแต้จิ๋วได้แค่ 3 ล้านคน ใน 4 อำเภอของจังหวัดเฉาโจว (chaozhou) เจอคนจีน 400 คน จะพูดแต้จิ๋วได้แค่คนเดียว
ภาษาจีนกลาง ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ผมก็ได้แค่งู ๆ ปลา ๆ ใช้ทำมาหากินไม่ได้
อย่าไปนับภาษาดัตช์, เยอรมัน และเกาหลีที่ได้แค่ Yes, no, O.K., thank you. (ต่ำกว่าระดับ งู ๆ ปลา ๆ)
กลับจากยุโรปคราวนี้ผมรู้สึกประทับใจความเป็นชาวเบลเยียม และทำให้ผมรู้สึกเลยว่าต้องเรียนภาษาอีกมาก แค่ 3 ภาษายังน้อยเกินไป
วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ประสบการณ์ลอดรูเข็ม
มีสุภาษิตเซ็นบทหนึ่งกล่าวว่า
ก่อนที่ท่านจะศึกษาเซน ภูเขาเป็นภูเขา และแม่น้ำก็คือแม่น้ำ
ในขณะที่ท่านศึกษาเซน และแม่น้ำมิใช่แม่น้ำ
หลังศึกษาเซน ภูเขากลับเป็นภูเขา และแม่น้ำก็เป็นแม่น้ำ
สุภาษิตบทนี้บอกผมว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาเซ็น กับบัณฑิตที่ศึกษาเซ็นแล้ว ก็เห็นภูเขาเป็นภูเขา เห็นแม่น้ำเป็นแม่น้ำ เหมือนกัน แต่ความลุ่มลึกไม่เท่ากัน เพราะบัณฑิตเซ็นจะรู้จักส่วนของภูเขาที่ไม่ใช่ภูเขา และส่วนของแม่น้ำที่ไม่ใช่แม่น้ำ ในขณะที่คนทั่วไปก็มองเห็นแต่ภาพโดยรวม
ผมเรียกประสบการณ์แบบนี้ว่าประสบการณ์ลอดรูเข็ม เพราะผมนึกถึงเวลาจะร้อยด้ายผ่านรูเข็ม เราจะต้องทำปลายด้ายนั้นให้เล็กที่สุด จึงจะสามารถลอดรูเข็มได้ อากาศทั้งสองฝั่งของรูเข็มก็เป็นอากาศเดียวกัน การลอดรูเข็มจึงเหมือนกับว่าไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ถ้าเราเป็นด้ายเส้นนั้น การลอดรูเข็มเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเรามาก เพราะด้ายที่ไม่ได้ลอดรูเข็มก็ไม่มีโอกาสจะได้ไปเย็บผ้าให้กลายเป็นเสื้อได้ ถ้าเราอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของอาภรณ์ที่งดงาม เรามีทางเลือกเพียงทางเดียวคือต้องลอดรูเข็มให้ได้
การฝึกกรรมฐานก็เป็นการลอดรูเข็มอีกวิธีหนึ่ง เพราะทำให้เราเห็นส่วนประกอบของจิต เราจะรู้จักส่วนย่อย ๆ ของจิตอย่างถ่องแท้ จากนั้น เราก็ถอยห่างออกมา มองเห็นจิตส่วนย่อยเหล่านั้น ค่อย ๆ ประกอบกันเข้าเป็นจิตใหญ่ ในท้ายสุดเราก็เห็นจิตใหญ่เป็นจิตเดียวเหมือนเมื่อก่อนจะฝึกกรรมฐาน แต่ระดับพัฒนาการของจิตเรานั้นไม่ได้อยู่ที่เดิม เพราะในขณะที่เราเห็นจิตใหญ่หนึ่งเดียวนั้น เราก็ได้เห็นจิตย่อยในจิตใหญ่นั้นด้วย
คอมพิวเตอร์ที่พวกเรากำลังมองอยู่นี้เป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์ เวลาเครื่องเสียเราก็แยกมันออกเป็นชิ้น ๆ เป็นเมนบอร์ด เป็นพาวเวอร์ซัพพลาย เป็นฮาร์ดดิสก์ ฯลฯ เราก็พินิจมองมันทีละชิ้นว่าชิ้นใดทำงานอย่างไร ชิ้นไหนเสียต้องเปลี่ยน จนเราเข้าใจกลไกการทำงานของมัน เวลานั้น คอมพิวเตอร์ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ มันเป็นแค่ส่วนประกอบย่อย ๆ เราซ่อมแล้วเราก็ประกอบมันกลับคืน มันก็กลับกลายเป็นคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม เราเห็นมันเป็นคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม เหมือนที่เห็นภูเขาเป็นภูเขา เห็นแม่น้ำเป็นแม่น้ำ แต่เราได้รู้ได้เห็นอะไรที่มากกว่านั้นด้วย อย่างนี้ที่ผมเรียกว่าประสบการณ์ลอดรูเข็ม
คนที่เรียนโทเรียนเอก ก็คงจะมีประสบการณ์เหมือนกับผม คือยิ่งเรียนสูง ก็ยิ่งเรียนแคบลง ๆ เหมือนกับการเดินในอุโมงค์ที่ไม่รู้ความยาว รู้แต่ว่าอุโมงค์มันแคบลง ๆ เรื่อย ๆ และเราก็ต้องเดินไปเรื่อย ๆ หยุดไม่ได้ จนกระทั่งไปทะลุออกที่ปากอุโมงค์อีกฝั่งหนึ่ง จึงได้พบกับแสงสว่าง กว่าวิทยานิพนธ์ของเราจะได้ข้อสรุปแบบสั้น ๆ แค่ 1-2 ประโยค เราต้องทำการทดลองเพื่อยืนยันสมมติฐานนั้นหลายครั้ง ในการทดลองแต่ละครั้งเราใช้เวลาทดลองสั้น ๆ แต่ใช้เวลาเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือทดลองมาหลายวัน และก่อนหน้านั้นต้องเรียนวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาอีกหลายเดือน จากวิชากว้าง ๆ แล้วก็เจาะแคบลง ๆ จนเล็กเป็นจุด จากจุดเล็ก ๆ ตรงนั้น มันก็พุ่งตรงทะลุเป้าหมายที่เราวางเอาไว้ และนำมาซึ่งข้อสรุปของการทดลอง
ตอนที่ดีที่สุดของประสบการณ์ลอดรูเข็มคือตอนที่เราสามารถอธิบายการทดลองของเราให้คนทั่วไปเข้าใจได้ ทั้ง ๆ ที่เขาไม่มีความรู้ในสาขาของเราเลย มันเป็นวินาทีที่เอนดอร์ฟินหลั่งออกมาราดรดสมองให้เปียกชุ่ม แบบที่มาสโลว์เรียกว่า Self-actualization แบบนั้นเลย
คนสองคนเรียนจบมาต่างสาขากัน สามารถแชร์ประสบการณ์ลอดรูเข็มกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่เหมือน ๆ กันสำหรับทุกคน เป็นประสบการณ์ที่ภูเขากลับมาเป็นภูเขา แม่น้ำก็กลับมาเป็นแม่น้ำเหมือนเดิม ส่วนด้ายก็ทะลุผ่านรูเข็มออกมาสู่อากาศห้วงเดิม ดังนั้นผมจึงไม่แปลกใจที่ดอกเตอร์หลายคนเขามีกระบวนการคิดที่คล้าย ๆ กัน
เมื่อผมมีโอกาส ผมจะแนะนำคนที่จะเรียนต่อโทหรือเอกว่าคุณต้องทำตัวเหมือนด้ายที่กำลังพยายามลอดรูเข็ม คือคุณต้องทำตัวให้เล็กและแกร่งพอที่จะลอดรูเล็ก ๆ ขนาดรูเข็มให้ได้ จะทำตัวว่าข้าใหญ่ก็ลอดรูเข็มไม่ได้ จะอ่อนปวกเปียกก็ลอดรูเข็มไม่ได้ ด้ายที่ลอดรูเข็มไม่ได้ก็ไม่มีสิทธิ์ไปอยู่บนอาภรณ์ที่งดงามได้
ด้ายที่เคยลอดรูเข็มสำเร็จมาครั้งหนึ่งแล้ว มักจะลอดได้อีกหลาย ๆ ครั้ง และครั้งต่อ ๆ ไปก็จะง่ายขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเรามีประสบการณ์แล้ว
ข้อควรระวังคือการลอดรูเข็มสำเร็จครั้งแรก ๆ มันมักจะปลาบปลื้มจนไม่ได้งานเป็นชิ้นเป็นอันไปหลายวัน ถ้าเตือนตัวเองได้ก็ควรหยุดปลาบปลื้มแล้วกลับมาทำงานต่อไป จะได้ลอดรูเข็มอีกหลาย ๆ ครั้งอย่างไม่มีวันสิ้นสุด... นะครับท่านผู้อ่าน
ก่อนที่ท่านจะศึกษาเซน ภูเขาเป็นภูเขา และแม่น้ำก็คือแม่น้ำ
ในขณะที่ท่านศึกษาเซน และแม่น้ำมิใช่แม่น้ำ
หลังศึกษาเซน ภูเขากลับเป็นภูเขา และแม่น้ำก็เป็นแม่น้ำ
สุภาษิตบทนี้บอกผมว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาเซ็น กับบัณฑิตที่ศึกษาเซ็นแล้ว ก็เห็นภูเขาเป็นภูเขา เห็นแม่น้ำเป็นแม่น้ำ เหมือนกัน แต่ความลุ่มลึกไม่เท่ากัน เพราะบัณฑิตเซ็นจะรู้จักส่วนของภูเขาที่ไม่ใช่ภูเขา และส่วนของแม่น้ำที่ไม่ใช่แม่น้ำ ในขณะที่คนทั่วไปก็มองเห็นแต่ภาพโดยรวม
ผมเรียกประสบการณ์แบบนี้ว่าประสบการณ์ลอดรูเข็ม เพราะผมนึกถึงเวลาจะร้อยด้ายผ่านรูเข็ม เราจะต้องทำปลายด้ายนั้นให้เล็กที่สุด จึงจะสามารถลอดรูเข็มได้ อากาศทั้งสองฝั่งของรูเข็มก็เป็นอากาศเดียวกัน การลอดรูเข็มจึงเหมือนกับว่าไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ถ้าเราเป็นด้ายเส้นนั้น การลอดรูเข็มเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเรามาก เพราะด้ายที่ไม่ได้ลอดรูเข็มก็ไม่มีโอกาสจะได้ไปเย็บผ้าให้กลายเป็นเสื้อได้ ถ้าเราอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของอาภรณ์ที่งดงาม เรามีทางเลือกเพียงทางเดียวคือต้องลอดรูเข็มให้ได้
การฝึกกรรมฐานก็เป็นการลอดรูเข็มอีกวิธีหนึ่ง เพราะทำให้เราเห็นส่วนประกอบของจิต เราจะรู้จักส่วนย่อย ๆ ของจิตอย่างถ่องแท้ จากนั้น เราก็ถอยห่างออกมา มองเห็นจิตส่วนย่อยเหล่านั้น ค่อย ๆ ประกอบกันเข้าเป็นจิตใหญ่ ในท้ายสุดเราก็เห็นจิตใหญ่เป็นจิตเดียวเหมือนเมื่อก่อนจะฝึกกรรมฐาน แต่ระดับพัฒนาการของจิตเรานั้นไม่ได้อยู่ที่เดิม เพราะในขณะที่เราเห็นจิตใหญ่หนึ่งเดียวนั้น เราก็ได้เห็นจิตย่อยในจิตใหญ่นั้นด้วย
คอมพิวเตอร์ที่พวกเรากำลังมองอยู่นี้เป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์ เวลาเครื่องเสียเราก็แยกมันออกเป็นชิ้น ๆ เป็นเมนบอร์ด เป็นพาวเวอร์ซัพพลาย เป็นฮาร์ดดิสก์ ฯลฯ เราก็พินิจมองมันทีละชิ้นว่าชิ้นใดทำงานอย่างไร ชิ้นไหนเสียต้องเปลี่ยน จนเราเข้าใจกลไกการทำงานของมัน เวลานั้น คอมพิวเตอร์ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ มันเป็นแค่ส่วนประกอบย่อย ๆ เราซ่อมแล้วเราก็ประกอบมันกลับคืน มันก็กลับกลายเป็นคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม เราเห็นมันเป็นคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม เหมือนที่เห็นภูเขาเป็นภูเขา เห็นแม่น้ำเป็นแม่น้ำ แต่เราได้รู้ได้เห็นอะไรที่มากกว่านั้นด้วย อย่างนี้ที่ผมเรียกว่าประสบการณ์ลอดรูเข็ม
คนที่เรียนโทเรียนเอก ก็คงจะมีประสบการณ์เหมือนกับผม คือยิ่งเรียนสูง ก็ยิ่งเรียนแคบลง ๆ เหมือนกับการเดินในอุโมงค์ที่ไม่รู้ความยาว รู้แต่ว่าอุโมงค์มันแคบลง ๆ เรื่อย ๆ และเราก็ต้องเดินไปเรื่อย ๆ หยุดไม่ได้ จนกระทั่งไปทะลุออกที่ปากอุโมงค์อีกฝั่งหนึ่ง จึงได้พบกับแสงสว่าง กว่าวิทยานิพนธ์ของเราจะได้ข้อสรุปแบบสั้น ๆ แค่ 1-2 ประโยค เราต้องทำการทดลองเพื่อยืนยันสมมติฐานนั้นหลายครั้ง ในการทดลองแต่ละครั้งเราใช้เวลาทดลองสั้น ๆ แต่ใช้เวลาเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือทดลองมาหลายวัน และก่อนหน้านั้นต้องเรียนวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาอีกหลายเดือน จากวิชากว้าง ๆ แล้วก็เจาะแคบลง ๆ จนเล็กเป็นจุด จากจุดเล็ก ๆ ตรงนั้น มันก็พุ่งตรงทะลุเป้าหมายที่เราวางเอาไว้ และนำมาซึ่งข้อสรุปของการทดลอง
ตอนที่ดีที่สุดของประสบการณ์ลอดรูเข็มคือตอนที่เราสามารถอธิบายการทดลองของเราให้คนทั่วไปเข้าใจได้ ทั้ง ๆ ที่เขาไม่มีความรู้ในสาขาของเราเลย มันเป็นวินาทีที่เอนดอร์ฟินหลั่งออกมาราดรดสมองให้เปียกชุ่ม แบบที่มาสโลว์เรียกว่า Self-actualization แบบนั้นเลย
คนสองคนเรียนจบมาต่างสาขากัน สามารถแชร์ประสบการณ์ลอดรูเข็มกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่เหมือน ๆ กันสำหรับทุกคน เป็นประสบการณ์ที่ภูเขากลับมาเป็นภูเขา แม่น้ำก็กลับมาเป็นแม่น้ำเหมือนเดิม ส่วนด้ายก็ทะลุผ่านรูเข็มออกมาสู่อากาศห้วงเดิม ดังนั้นผมจึงไม่แปลกใจที่ดอกเตอร์หลายคนเขามีกระบวนการคิดที่คล้าย ๆ กัน
เมื่อผมมีโอกาส ผมจะแนะนำคนที่จะเรียนต่อโทหรือเอกว่าคุณต้องทำตัวเหมือนด้ายที่กำลังพยายามลอดรูเข็ม คือคุณต้องทำตัวให้เล็กและแกร่งพอที่จะลอดรูเล็ก ๆ ขนาดรูเข็มให้ได้ จะทำตัวว่าข้าใหญ่ก็ลอดรูเข็มไม่ได้ จะอ่อนปวกเปียกก็ลอดรูเข็มไม่ได้ ด้ายที่ลอดรูเข็มไม่ได้ก็ไม่มีสิทธิ์ไปอยู่บนอาภรณ์ที่งดงามได้
ด้ายที่เคยลอดรูเข็มสำเร็จมาครั้งหนึ่งแล้ว มักจะลอดได้อีกหลาย ๆ ครั้ง และครั้งต่อ ๆ ไปก็จะง่ายขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเรามีประสบการณ์แล้ว
ข้อควรระวังคือการลอดรูเข็มสำเร็จครั้งแรก ๆ มันมักจะปลาบปลื้มจนไม่ได้งานเป็นชิ้นเป็นอันไปหลายวัน ถ้าเตือนตัวเองได้ก็ควรหยุดปลาบปลื้มแล้วกลับมาทำงานต่อไป จะได้ลอดรูเข็มอีกหลาย ๆ ครั้งอย่างไม่มีวันสิ้นสุด... นะครับท่านผู้อ่าน
วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551
อำนาจสีเทา
"อำนาจ" เป็นสิ่งที่ดูทรงพลัง ผมเคยคิดว่าสีของอำนาจน่าจะเป็นสีแดง
แต่ "อำนาจ" ก็ดูน่ากลัว น่าจะเป็นสีดำ หรืออาจจะดูน่าเลื่อมใสบริสุทธิ์เหมือน "สีขาว"
แต่หลังจากผ่านประสบการณ์การทำงานมาหลายปี ผมเริ่มมองว่าอำนาจมีสีเทา
สีเทาแทนความกำกวม และมีหลายคนที่นำเอาความกำกวมมาแปรเป็นอำนาจของตัวเอง แล้วเรียกมันเสียใหม่ว่า "วิจารณญาณ" ดังที่เราจะเห็นได้จากกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งมักจะเปิดช่องให้ผู้บริหารได้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ได้เมื่อไม่มีระเบียบข้อใดระบุไว้ ยิ่งมีช่องว่างเปิดกว้างไว้เท่าไร อำนาจของผู้บริหารก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น อันที่จริงสีเทาควรจะเป็นสีของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะท่านทำงานด้วยการตัดสินความกำกวมเพื่อชี้ถูกชี้ผิด
ลองนึกภาพผู้บริหารที่ชอบใช้พระเดชปกครองลูกน้อง มีลูกน้องกี่คนก็กดหัวเขาหมด ใช้แต่อำนาจสีดำ คนเหล่านี้ปกครองลูกน้องไม่ได้ อย่างมากก็สั่งให้ลูกน้องทำตามคำสั่งของเขาได้ แต่ให้ลูกน้องช่วยคิดช่วยพัฒนา ร่วมแรงร่วมใจไม่ได้ อำนาจสีดำจึงมีผลเพียงทำให้ลูกน้องกลัว
ผู้บริหารที่ใช้อำนาจสีขาว เน้นแต่ความเมตตากรุณาต่อลูกน้อง ให้อภัยลูกน้องเสมอ ลูกน้องรักและบูชา แต่ไม่ได้แปลว่าจะทำงานให้ได้ดีเสมอไป เพราะการที่ลูกน้องมีความรักต่อเจ้านาย และได้รับความรักจากเจ้านายมาตลอด เขาก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพัฒนางานของเขาอีกต่อไป เพราะจะทำหรือไม่ทำก็ได้รับผลตอบแทนจากเจ้านายเท่ากัน อำนาจสีขาวมีผลแค่ทำให้ลูกน้องรัก
ผมเชื่อว่า ผู้บริหารที่ใช้อำนาจสีเทาคือผู้บริหารที่มีอำนาจมากที่สุด เพราะเขาสามารถให้คุณให้โทษกับใครก็ได้ ไม่มีใครเป็นคนรัก ไม่มีใครเป็นคนชัง ทุกคนเป็นคนเท่า ๆ กัน มีโอกาสจะสร้างความผิด และความชอบเท่า ๆ กัน ใครทำดีก็ได้ความชอบ ทำผิดก็ถูกลงโทษ
ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้านายสีเทาที่มีความยุติธรรมแก่ลูกน้อง แต่น่าเสียดายที่มนุษย์ปุถุชนทั่วไปไม่สามารถเป็นผู้นำด้วยอำนาจสีเทาอย่างสมบูรณ์ สีเทาอย่างสมบูรณ์หมายความว่า ถึงแม้จะส่องด้วยแว่นขยานอีกกี่เท่า ก็ยังเห็นเป็นสีเทา หลายคนที่คิดว่าตัวเองเป็นผู้นำสีเทา เพราะว่าตัวเองมีทั้งให้คุณและให้โทษ โดยอาจลืมไปว่าลูกน้องแค่ละคนนั้นได้รับคุณและโทษไม่เท่ากัน บางคนเป็นคนโปรด ก็ได้รับคุณมาก คนชังก็ได้รับโทษมาก ผู้นำแบบนี้มองไกล ๆ เป็นสีเทา แต่พอมองใกล้ ๆ กลับเห็นเป็นจุดสีดำกับสีขาวสลับกัน หรือบางทีก็สลับด้วยเวลา หรือโอกาส เช่นอาจจะเป็นเจ้านายจอมโหดในวันทำงาน แต่เป็นเจ้านายผู้แสนใจดีในวันหยุด อาจจะเข้มงวดมากเรื่องการจ่ายค่าแรง แต่กลับใจดีมาก ๆ เรื่องสวัสดิการ บางเวลาเป็นสีดำ บางเวลาเป็นสีขาว เมื่อมองเฉลี่ย ๆ แล้วเป็นสีเทา
ดังนั้นผมจึงคิดว่าสีของอำนาจต้องเป็นสีเทา จึงจะเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดีได้ แต่การจะเป็นผู้นำสีเทาที่ดีได้นั้น จะต้องมีหลักการที่ดีอยู่ในใจ ถ้าใช้กฎหมายได้ ก็ให้ใช้กฎหมายเป็นเกณฑ์ตัดสิน ถ้ากฎหมายไม่ได้ระบุไว้ก็ควรจะใช้จารีตประเพณี ถ้าจารีตประเพณีไม่มีระบุไว้ก็ควรจะใช้หลักศีลธรรม และถ้าเรื่องใดไม่มีหลักศีลธรรมกำหนดไว้จึงจะใช้ประชามติ ต่อเมื่อเรื่องใดไม่จำเป็นต้องขอประชามติ นั่นแหละ จึงจะเลือกตัดสินใจด้วยวิจารณญาณส่วนบุคคล
ผมเชื่อว่ามีหลายเรื่องในโลกนี้ที่ตัดสินได้ด้วยวิจารณญาณส่วนบุคคล แต่มันคือเกณฑ์สุดท้ายที่ควรนำมาใช้ การนำวิจารณญาณส่วนตัวมาใช้บ่อย ๆ คือการแสดงสีเทาในใจตัวเองออกมา การใช้ครั้งแรก ๆ ทำให้เรารู้ว่าเรามีอำนาจ แต่เมื่อใช้บ่อย ๆ อำนาจมักจะไม่รักษาความเป็นสีเทาที่สมบูรณ์ได้ มันจะคอยผันตัวเองเป็นสีดำบ้าง สีขาวบ้าง หรือกลายเป็นม้าลายสีดำสลับขาวบ้าง
การกลับมาอยู่ตรงทางสายกลาง เป็นผู้นำสีเทา คือผู้นำในอุดมคติ คือผู้นำที่มีอำนาจที่แท้จริง
ผมขอจบบทความนี้ด้วยปรัชญาเต๋า ในคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง (เต๋าเต้อจิง) เกี่ยวกับอำนาจในการปกครอง ซึ่งท่านกล่าวไว้ลึกซึ้งมากกว่าความคิดของผมในวันนี้ ซึ่งผมจะต้องพยายามต่อไปจนกว่าจะตีโจทย์แตก ตามโจทย์ของท่านเหลาจื้อ อำนาจที่แท้จริงควรจะไม่มีสีหรือมองไม่เห็น ไม่ใช่มีสีเทาอย่างที่ผมคิดในวันนี้
เหลาจื้อท่านกล่าวว่า
การปกครองที่แย่ที่สุด คือการปกครองที่ประชาชนเกลียดผู้ปกครอง
การปกครองที่แย่รองลงมา คือการปกครองที่ประชาชนกลัวผู้ปกครอง
การปกครองที่แย่รองลงมาอีก คือการปกครองที่ประชาชนรักผู้ปกครอง
แต่การปกครองที่ดีที่สุด คือการปกครองที่ประชาชนคิดว่าไม่มีการปกครองอยู่
แต่ "อำนาจ" ก็ดูน่ากลัว น่าจะเป็นสีดำ หรืออาจจะดูน่าเลื่อมใสบริสุทธิ์เหมือน "สีขาว"
แต่หลังจากผ่านประสบการณ์การทำงานมาหลายปี ผมเริ่มมองว่าอำนาจมีสีเทา
สีเทาแทนความกำกวม และมีหลายคนที่นำเอาความกำกวมมาแปรเป็นอำนาจของตัวเอง แล้วเรียกมันเสียใหม่ว่า "วิจารณญาณ" ดังที่เราจะเห็นได้จากกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งมักจะเปิดช่องให้ผู้บริหารได้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ได้เมื่อไม่มีระเบียบข้อใดระบุไว้ ยิ่งมีช่องว่างเปิดกว้างไว้เท่าไร อำนาจของผู้บริหารก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น อันที่จริงสีเทาควรจะเป็นสีของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะท่านทำงานด้วยการตัดสินความกำกวมเพื่อชี้ถูกชี้ผิด
ลองนึกภาพผู้บริหารที่ชอบใช้พระเดชปกครองลูกน้อง มีลูกน้องกี่คนก็กดหัวเขาหมด ใช้แต่อำนาจสีดำ คนเหล่านี้ปกครองลูกน้องไม่ได้ อย่างมากก็สั่งให้ลูกน้องทำตามคำสั่งของเขาได้ แต่ให้ลูกน้องช่วยคิดช่วยพัฒนา ร่วมแรงร่วมใจไม่ได้ อำนาจสีดำจึงมีผลเพียงทำให้ลูกน้องกลัว
ผู้บริหารที่ใช้อำนาจสีขาว เน้นแต่ความเมตตากรุณาต่อลูกน้อง ให้อภัยลูกน้องเสมอ ลูกน้องรักและบูชา แต่ไม่ได้แปลว่าจะทำงานให้ได้ดีเสมอไป เพราะการที่ลูกน้องมีความรักต่อเจ้านาย และได้รับความรักจากเจ้านายมาตลอด เขาก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพัฒนางานของเขาอีกต่อไป เพราะจะทำหรือไม่ทำก็ได้รับผลตอบแทนจากเจ้านายเท่ากัน อำนาจสีขาวมีผลแค่ทำให้ลูกน้องรัก
ผมเชื่อว่า ผู้บริหารที่ใช้อำนาจสีเทาคือผู้บริหารที่มีอำนาจมากที่สุด เพราะเขาสามารถให้คุณให้โทษกับใครก็ได้ ไม่มีใครเป็นคนรัก ไม่มีใครเป็นคนชัง ทุกคนเป็นคนเท่า ๆ กัน มีโอกาสจะสร้างความผิด และความชอบเท่า ๆ กัน ใครทำดีก็ได้ความชอบ ทำผิดก็ถูกลงโทษ
ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้านายสีเทาที่มีความยุติธรรมแก่ลูกน้อง แต่น่าเสียดายที่มนุษย์ปุถุชนทั่วไปไม่สามารถเป็นผู้นำด้วยอำนาจสีเทาอย่างสมบูรณ์ สีเทาอย่างสมบูรณ์หมายความว่า ถึงแม้จะส่องด้วยแว่นขยานอีกกี่เท่า ก็ยังเห็นเป็นสีเทา หลายคนที่คิดว่าตัวเองเป็นผู้นำสีเทา เพราะว่าตัวเองมีทั้งให้คุณและให้โทษ โดยอาจลืมไปว่าลูกน้องแค่ละคนนั้นได้รับคุณและโทษไม่เท่ากัน บางคนเป็นคนโปรด ก็ได้รับคุณมาก คนชังก็ได้รับโทษมาก ผู้นำแบบนี้มองไกล ๆ เป็นสีเทา แต่พอมองใกล้ ๆ กลับเห็นเป็นจุดสีดำกับสีขาวสลับกัน หรือบางทีก็สลับด้วยเวลา หรือโอกาส เช่นอาจจะเป็นเจ้านายจอมโหดในวันทำงาน แต่เป็นเจ้านายผู้แสนใจดีในวันหยุด อาจจะเข้มงวดมากเรื่องการจ่ายค่าแรง แต่กลับใจดีมาก ๆ เรื่องสวัสดิการ บางเวลาเป็นสีดำ บางเวลาเป็นสีขาว เมื่อมองเฉลี่ย ๆ แล้วเป็นสีเทา
ดังนั้นผมจึงคิดว่าสีของอำนาจต้องเป็นสีเทา จึงจะเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดีได้ แต่การจะเป็นผู้นำสีเทาที่ดีได้นั้น จะต้องมีหลักการที่ดีอยู่ในใจ ถ้าใช้กฎหมายได้ ก็ให้ใช้กฎหมายเป็นเกณฑ์ตัดสิน ถ้ากฎหมายไม่ได้ระบุไว้ก็ควรจะใช้จารีตประเพณี ถ้าจารีตประเพณีไม่มีระบุไว้ก็ควรจะใช้หลักศีลธรรม และถ้าเรื่องใดไม่มีหลักศีลธรรมกำหนดไว้จึงจะใช้ประชามติ ต่อเมื่อเรื่องใดไม่จำเป็นต้องขอประชามติ นั่นแหละ จึงจะเลือกตัดสินใจด้วยวิจารณญาณส่วนบุคคล
ผมเชื่อว่ามีหลายเรื่องในโลกนี้ที่ตัดสินได้ด้วยวิจารณญาณส่วนบุคคล แต่มันคือเกณฑ์สุดท้ายที่ควรนำมาใช้ การนำวิจารณญาณส่วนตัวมาใช้บ่อย ๆ คือการแสดงสีเทาในใจตัวเองออกมา การใช้ครั้งแรก ๆ ทำให้เรารู้ว่าเรามีอำนาจ แต่เมื่อใช้บ่อย ๆ อำนาจมักจะไม่รักษาความเป็นสีเทาที่สมบูรณ์ได้ มันจะคอยผันตัวเองเป็นสีดำบ้าง สีขาวบ้าง หรือกลายเป็นม้าลายสีดำสลับขาวบ้าง
การกลับมาอยู่ตรงทางสายกลาง เป็นผู้นำสีเทา คือผู้นำในอุดมคติ คือผู้นำที่มีอำนาจที่แท้จริง
ผมขอจบบทความนี้ด้วยปรัชญาเต๋า ในคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง (เต๋าเต้อจิง) เกี่ยวกับอำนาจในการปกครอง ซึ่งท่านกล่าวไว้ลึกซึ้งมากกว่าความคิดของผมในวันนี้ ซึ่งผมจะต้องพยายามต่อไปจนกว่าจะตีโจทย์แตก ตามโจทย์ของท่านเหลาจื้อ อำนาจที่แท้จริงควรจะไม่มีสีหรือมองไม่เห็น ไม่ใช่มีสีเทาอย่างที่ผมคิดในวันนี้
เหลาจื้อท่านกล่าวว่า
การปกครองที่แย่ที่สุด คือการปกครองที่ประชาชนเกลียดผู้ปกครอง
การปกครองที่แย่รองลงมา คือการปกครองที่ประชาชนกลัวผู้ปกครอง
การปกครองที่แย่รองลงมาอีก คือการปกครองที่ประชาชนรักผู้ปกครอง
แต่การปกครองที่ดีที่สุด คือการปกครองที่ประชาชนคิดว่าไม่มีการปกครองอยู่
วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พันธมิตรบุกสนามบิน ตอนที่ 6
ตี 2 เศษผมออกจากอาคารผู้โดยสารมาขึ้นรถแท็กซี่ เชื่อมั้ยครับใกล้ไกลคิดราคาเดียว 500 บาทครับ
เอาล่ะคืนนี้ผมเหนื่อยมาพอแล้ว ผมจะหาโรงแรมนอนแล้ว
คืนนี้พักเรื่องพันธมิตรไว้ก่อน
เช้าวันที่ 26 ผมตื่นค่อนข้างสาย เพราะนอนดึกมาก ช่วงกลางวันผมไปเดินตามห้าง ก็ได้พบว่าไม่มีบรรยากาศของความไม่สงบเลย ทุกอย่างดูเป็นปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ยกเว้นเรื่องเดียว คือไม่ค่อยเห็นคนกรุงเทพฯ ใส่เสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงแล้ว
เย็นวันที่ 26 เป็นกำหนดการที่ผมจะเดินทางกลับพิษณุโลก
ตอนที่จะเลี้ยวเข้าสนามบิน แท็กวี่เจ้ากรรมดันเลี้ยวจากโทลล์เวย์เข้าอาคารระหว่างประเทศ ก็เลยมาจ๊ะเอ๋กับพันธมิตรที่ตั้งด่านไว้รอรับที่เชิงสะพาน แต่ดีหน่อยที่เขาไม่กักรถเรา ปล่อยให้เลี้ยวออกถนนใหญ่ได้ ก่อนจะไปเลี้ยวเข้าอาคารในประเทศที่ทางเข้าถัดไป
การเช็คอินที่ดอนเมืองเป็นปกติ ไม่มีลางบอกเหตุใด ๆ ช่วงเย็นนี้ได้ยินข่าวเรื่อง พล.อ.อนุพงษ์ ผบ.ทบ. ออกมาแถลงการณ์การประชุมร่วมหลายฝ่าย ซึ่งเสนอให้นายกฯยุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่ แล้วก็มีข่าวว่านายกฯ บินไปลงที่เชียงใหม่แทน
มีคนปล่อยข่าวว่านายกจะบินมาประชุมที่กรุงเทพฯ หรือไม่งั้น รมต.ก็จะบินไปประชุมที่เชียงใหม่
ดอนเมืองจึงกลายเป็นเป้าหมายต่อไปของพันธมิตร ซึ่งเขาเพียงแต่เดินมาจากอาคารระหว่างประเทศไม่กี่ร้อยเมตรก็จะมาถึงแล้ว
และก็เป็นเช่นนั้น พันธมิตรเข้ายึดชั้นล่าง ผู้โดยสารขาเข้าจึงต้องเข้าที่ชั้นบน เข้ามาปะปนกับผู้โดยสารขาออกที่กำลังรอเที่ยวบินของตน สนามบินประกาศให้ทุกคนไปรวมตัวอยู่ด้านเกท 84 ซึ่งเป็นเกทที่ไกลที่สุด เผื่อว่าจะต้องอพยพคนลงไปที่จุดรวมพลข้างล่าง
คราวนี้โชคดีหน่อยที่พันธมตรทำงานมีขั้นตอนมากขึ้น เพียงไม่กี่นาทีต่อมา สนามบินก็ประกาศว่าเหตุการณ์ปกติแล้ว จะทำการบินต่อไป
หลังจากกลับมาพิษณุโลกแล้ว (ช้ากว่าปกติเกือบ 1 ชั่วโมง) ตอนเช้าจึงได้ทราบว่าพันธมิตรได้ยึดสนามบินดอนเมืองหลังจากเที่ยวบินสุดท้ายจากพิษณุโลกลงจอดที่ดอนเมือง เท่ากับว่าเป็นการปิดสนามบินโดยละมุนละม่อมกว่าเมื่อคืนที่ผ่านมา
แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกับเมื่อคืนคือ พันธมิตรทำงานแบบไม่มีแผน และไม่มีการประชาสัมพันธ์ แล้วใครจะเข้าใจได้ว่าคุณทำงานด้วยความชอบธรรม หรือความชอบใจ? กองกำลังนับแสนที่ไม่มีวินัย ภายใต้การนำของแกนนำ 13 คนที่ไม่มีความเป็นหนึ่ง จะนำประเทศชาติไปสู่ทิศทางใด?
ผมรู้สึกสะอิดสะเอียนมากที่ได้ยินคำพูดจากพันธมิตรว่าไม่ต้องการยุบสภา แต่ต้องการแก้ด้วยการให้นายกลาออก แล้วจับมือกันระหว่างพันธมิตรกับรัฐบาลเพื่อจัดตั้งรัฐบาลประชาภิวัตน์ โดยไม่ใช่หมายถึงพลงต.จำลองเป็นนายก หรือแกนนำเป็นรัฐมนตรี
น่าสะอิดสะเอียนมาก ต่อสู้กันมานานหลายเดือน สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการเป็นรัฐบาลโดยไม่ต้องเลือกตั้ง
นี่น่ะหรือคือกองทัพของประชาชน คือกองทัพธรรม คือกองทัพประชาภิวัตน์
หรือแค่กลุ่มอันธพาลที่อยากเป็นใหญ่ในบ้านเมือง
ผมเคยชื่นชมคุณสนธิ ลิ้มทองกุลในสมัยที่ท่านทำรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เพราะรายการเต็มไปด้วยสาระเนื้อหา เบื้องลึก เบื้องหลัง และประวัติศาสตร์ คนที่ฟังแล้วจะได้รับความรู้ และตาสว่างขึ้น ได้เข้าใจมากขึ้นว่าที่รัฐบาลพูดนั้นมีความหมายโดยตรงว่าอย่างไร โดยนัยว่าอย่างไร เราได้รู้จักคำว่าประชานิยมกันมากขึ้น และรู้ว่ามันต่างกับประชาธิปไตยอย่างไร
ผ่านมา 3 ปี วันนี้พันธมิตรปราศรัย 24 ชั่วโมงเพื่อสร้างความเกลียดชังรัฐบาลให้เกิดขึ้นในใจประชาชนนับแสน โดยไม่พยายามนำเสนอการเมืองแนวใหม่ที่เขาเรียกว่าแนวประชาภิวัตน์ ซึ่งเขาเชื่อว่าดีกว่าประชาธิปไตย
ถ้าประชาภิวัตน์แปลว่าการคล้อยตามความคิดของประชาชน ใครอยากได้อะไรก็หาพวกมาเยอะ ๆ แล้วได้สิ่งนั้นไป ผมถือว่าเป็นกฎของอันธพาล ไม่ใช่ของคนที่มีวุฒิภาวะทางการเมือง ประชาภิวัตน์ที่ควรจะเป็นคือทำให้เสียงของทุกคนดังฟังชัดขึ้น แต่ต้องตั้งใจฟังเสียงของคนอื่นมากขึ้นเช่นกัน
ต่อให้มีการยุบสภาในวันพรุ่งนี้ ประเทศไทยก็ยังคงอยู่ในความมืดมนต่อไป เพราะเรายังไม่รู้จักคำว่าประธิปไตยดีพอ
ถ้าพันธมิตรได้อ่านข้อความนี้ ผมขอร้องล่ะ คุมคนของท่านให้อยู่ในระเบียบกว่านี้ ทำอะไรให้มีแผนปฏบัติการที่ชัดเจนกว่านี้ อย่าทำอะไรตามใจแบบนี้ ประเทศชาติก็เสียหาย ท่านก็ไม่ได้สิ่งที่ท่านเรียกร้อง
ผมก็ไม่ชอบระบบ "คอรัปชันถูกกฎหมาย" แต่ถ้าท่านจะล้มเขา ก็ควรจะล้มด้วย "ปฏิบัติการแห่งความชอบธรรม"
การปิดสนามบิน ผิดจากหลักอหิงสาโดยสิ้นเชิง
เอาล่ะคืนนี้ผมเหนื่อยมาพอแล้ว ผมจะหาโรงแรมนอนแล้ว
คืนนี้พักเรื่องพันธมิตรไว้ก่อน
เช้าวันที่ 26 ผมตื่นค่อนข้างสาย เพราะนอนดึกมาก ช่วงกลางวันผมไปเดินตามห้าง ก็ได้พบว่าไม่มีบรรยากาศของความไม่สงบเลย ทุกอย่างดูเป็นปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ยกเว้นเรื่องเดียว คือไม่ค่อยเห็นคนกรุงเทพฯ ใส่เสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงแล้ว
เย็นวันที่ 26 เป็นกำหนดการที่ผมจะเดินทางกลับพิษณุโลก
ตอนที่จะเลี้ยวเข้าสนามบิน แท็กวี่เจ้ากรรมดันเลี้ยวจากโทลล์เวย์เข้าอาคารระหว่างประเทศ ก็เลยมาจ๊ะเอ๋กับพันธมิตรที่ตั้งด่านไว้รอรับที่เชิงสะพาน แต่ดีหน่อยที่เขาไม่กักรถเรา ปล่อยให้เลี้ยวออกถนนใหญ่ได้ ก่อนจะไปเลี้ยวเข้าอาคารในประเทศที่ทางเข้าถัดไป
การเช็คอินที่ดอนเมืองเป็นปกติ ไม่มีลางบอกเหตุใด ๆ ช่วงเย็นนี้ได้ยินข่าวเรื่อง พล.อ.อนุพงษ์ ผบ.ทบ. ออกมาแถลงการณ์การประชุมร่วมหลายฝ่าย ซึ่งเสนอให้นายกฯยุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่ แล้วก็มีข่าวว่านายกฯ บินไปลงที่เชียงใหม่แทน
มีคนปล่อยข่าวว่านายกจะบินมาประชุมที่กรุงเทพฯ หรือไม่งั้น รมต.ก็จะบินไปประชุมที่เชียงใหม่
ดอนเมืองจึงกลายเป็นเป้าหมายต่อไปของพันธมิตร ซึ่งเขาเพียงแต่เดินมาจากอาคารระหว่างประเทศไม่กี่ร้อยเมตรก็จะมาถึงแล้ว
และก็เป็นเช่นนั้น พันธมิตรเข้ายึดชั้นล่าง ผู้โดยสารขาเข้าจึงต้องเข้าที่ชั้นบน เข้ามาปะปนกับผู้โดยสารขาออกที่กำลังรอเที่ยวบินของตน สนามบินประกาศให้ทุกคนไปรวมตัวอยู่ด้านเกท 84 ซึ่งเป็นเกทที่ไกลที่สุด เผื่อว่าจะต้องอพยพคนลงไปที่จุดรวมพลข้างล่าง
คราวนี้โชคดีหน่อยที่พันธมตรทำงานมีขั้นตอนมากขึ้น เพียงไม่กี่นาทีต่อมา สนามบินก็ประกาศว่าเหตุการณ์ปกติแล้ว จะทำการบินต่อไป
หลังจากกลับมาพิษณุโลกแล้ว (ช้ากว่าปกติเกือบ 1 ชั่วโมง) ตอนเช้าจึงได้ทราบว่าพันธมิตรได้ยึดสนามบินดอนเมืองหลังจากเที่ยวบินสุดท้ายจากพิษณุโลกลงจอดที่ดอนเมือง เท่ากับว่าเป็นการปิดสนามบินโดยละมุนละม่อมกว่าเมื่อคืนที่ผ่านมา
แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกับเมื่อคืนคือ พันธมิตรทำงานแบบไม่มีแผน และไม่มีการประชาสัมพันธ์ แล้วใครจะเข้าใจได้ว่าคุณทำงานด้วยความชอบธรรม หรือความชอบใจ? กองกำลังนับแสนที่ไม่มีวินัย ภายใต้การนำของแกนนำ 13 คนที่ไม่มีความเป็นหนึ่ง จะนำประเทศชาติไปสู่ทิศทางใด?
ผมรู้สึกสะอิดสะเอียนมากที่ได้ยินคำพูดจากพันธมิตรว่าไม่ต้องการยุบสภา แต่ต้องการแก้ด้วยการให้นายกลาออก แล้วจับมือกันระหว่างพันธมิตรกับรัฐบาลเพื่อจัดตั้งรัฐบาลประชาภิวัตน์ โดยไม่ใช่หมายถึงพลงต.จำลองเป็นนายก หรือแกนนำเป็นรัฐมนตรี
น่าสะอิดสะเอียนมาก ต่อสู้กันมานานหลายเดือน สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการเป็นรัฐบาลโดยไม่ต้องเลือกตั้ง
นี่น่ะหรือคือกองทัพของประชาชน คือกองทัพธรรม คือกองทัพประชาภิวัตน์
หรือแค่กลุ่มอันธพาลที่อยากเป็นใหญ่ในบ้านเมือง
ผมเคยชื่นชมคุณสนธิ ลิ้มทองกุลในสมัยที่ท่านทำรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เพราะรายการเต็มไปด้วยสาระเนื้อหา เบื้องลึก เบื้องหลัง และประวัติศาสตร์ คนที่ฟังแล้วจะได้รับความรู้ และตาสว่างขึ้น ได้เข้าใจมากขึ้นว่าที่รัฐบาลพูดนั้นมีความหมายโดยตรงว่าอย่างไร โดยนัยว่าอย่างไร เราได้รู้จักคำว่าประชานิยมกันมากขึ้น และรู้ว่ามันต่างกับประชาธิปไตยอย่างไร
ผ่านมา 3 ปี วันนี้พันธมิตรปราศรัย 24 ชั่วโมงเพื่อสร้างความเกลียดชังรัฐบาลให้เกิดขึ้นในใจประชาชนนับแสน โดยไม่พยายามนำเสนอการเมืองแนวใหม่ที่เขาเรียกว่าแนวประชาภิวัตน์ ซึ่งเขาเชื่อว่าดีกว่าประชาธิปไตย
ถ้าประชาภิวัตน์แปลว่าการคล้อยตามความคิดของประชาชน ใครอยากได้อะไรก็หาพวกมาเยอะ ๆ แล้วได้สิ่งนั้นไป ผมถือว่าเป็นกฎของอันธพาล ไม่ใช่ของคนที่มีวุฒิภาวะทางการเมือง ประชาภิวัตน์ที่ควรจะเป็นคือทำให้เสียงของทุกคนดังฟังชัดขึ้น แต่ต้องตั้งใจฟังเสียงของคนอื่นมากขึ้นเช่นกัน
ต่อให้มีการยุบสภาในวันพรุ่งนี้ ประเทศไทยก็ยังคงอยู่ในความมืดมนต่อไป เพราะเรายังไม่รู้จักคำว่าประธิปไตยดีพอ
ถ้าพันธมิตรได้อ่านข้อความนี้ ผมขอร้องล่ะ คุมคนของท่านให้อยู่ในระเบียบกว่านี้ ทำอะไรให้มีแผนปฏบัติการที่ชัดเจนกว่านี้ อย่าทำอะไรตามใจแบบนี้ ประเทศชาติก็เสียหาย ท่านก็ไม่ได้สิ่งที่ท่านเรียกร้อง
ผมก็ไม่ชอบระบบ "คอรัปชันถูกกฎหมาย" แต่ถ้าท่านจะล้มเขา ก็ควรจะล้มด้วย "ปฏิบัติการแห่งความชอบธรรม"
การปิดสนามบิน ผิดจากหลักอหิงสาโดยสิ้นเชิง
พันธมิตรบุกสนามบิน ตอนที่ 5
ขั้นตอนการยกเลิกตั๋ว และยกเลิกการเดินทางออกนอกประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว แค่ไม่กี่นาทีผมก็ได้ออกมายืนหน้าประตู ตม. อีกครั้ง
ผมมองดูร้านรอบ ๆ ส่วนใหญ่ปิดร้านแล้ว แต่เนื่องจากร้านในสนามบินไม่มีประตู จึงต้องนำเอาโต๊ะในร้านมาวางเรียงซ้อนกันปิดหน้าร้านไว้
มองไปอีกด้านหนึ่ง ฝั่งในประเทศเต็มไปด้วยกองกำลังของพันธมิตรนอนเกลื่อนตามพื้น เหมือนกับผู้โดยสารที่อยู่ข้างใน คนสองฝ่ายไม่ได้นอนหลับสบายเหมือนที่บ้านเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ ฝ่ายหนึ่งเป็นคนทำให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเพียงชาวต่างชาติที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร
ถ้าไปถามพันธมิตรฯ เขาก็คงบอกว่าเขาเสียใจสำหรับความไม่สะดวก แต่นี่คือสิ่งที่ทุกคนจำเป็นต้องเสียสละเพื่อส่วนรวม และผลที่เราได้นั้นคุ้มค่ายิ่งนักกับประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับจากการลาออกของนายกรัฐมนตรี
เชื่อเถอะ ถ้าเอาพวกพันธมิตรไปอยู่ต่างประเทศแล้วโดนปิดสนามบินอย่างนี้ เขาจะไม่ยอมรับ "การเสียสละ" อย่างนี้อย่างแน่นอน
สิ่งที่ผมไม่เข้าใจคือคุณยึดสนามบินเพื่ออะไร ถ้าจะยึดเพื่อสร้างความชอบธรรม คุณก็จะต้องอธิบายให้มวลชนที่อยู่ในสนามบินทราบว่าคุณกำลังทำอะไร คุณจะไม่ล่วงละเมิดสิทธเสรีภาพส่วนบุคคลของผู้โดยสารอย่างไร
จะดีมาก ๆ ถ้าพวกเขาจะก่อม็อบโดยไม่ต้องกระทบกับตารางการบิน ในเมื่อสิ่งที่เขาต้องการคือตัวนายกฯ ที่กำลังจะบินกลับจากเปรู แล้วมวลชนคนอื่น ๆ เขาไปรู้เรื่องอะไรด้วย?
การยึดทำเนียบถือว่าเป็นการดูหมิ่นสถาบันบริหาร แต่ยังไม่ร้ายเท่ากับการยึดสนามบิน เพราะการยึดทำเนียบรัฐบาลมีผลกระทบต่อคนที่ทำงานในทำเนียบเพียงไม่กี่ร้อยหรือพันคน
แต่การยึดสนามบินเพื่อสร้างสถานการณ์รุนแรง กระทบโดยตรงต่อผู้โดยสารหลายพันคนที่อยู่ในสนามบินเวลานั้น และอีกหลายหมื่นคนที่ต้องเลื่อนเวลาการบินในวันต่อ ๆ ไป ผมถือว่าพันธมิตรหมดความชอบธรรมในการกู้ชาติแล้วครับ
ผมมองดูร้านรอบ ๆ ส่วนใหญ่ปิดร้านแล้ว แต่เนื่องจากร้านในสนามบินไม่มีประตู จึงต้องนำเอาโต๊ะในร้านมาวางเรียงซ้อนกันปิดหน้าร้านไว้
มองไปอีกด้านหนึ่ง ฝั่งในประเทศเต็มไปด้วยกองกำลังของพันธมิตรนอนเกลื่อนตามพื้น เหมือนกับผู้โดยสารที่อยู่ข้างใน คนสองฝ่ายไม่ได้นอนหลับสบายเหมือนที่บ้านเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ ฝ่ายหนึ่งเป็นคนทำให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเพียงชาวต่างชาติที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร
ถ้าไปถามพันธมิตรฯ เขาก็คงบอกว่าเขาเสียใจสำหรับความไม่สะดวก แต่นี่คือสิ่งที่ทุกคนจำเป็นต้องเสียสละเพื่อส่วนรวม และผลที่เราได้นั้นคุ้มค่ายิ่งนักกับประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับจากการลาออกของนายกรัฐมนตรี
เชื่อเถอะ ถ้าเอาพวกพันธมิตรไปอยู่ต่างประเทศแล้วโดนปิดสนามบินอย่างนี้ เขาจะไม่ยอมรับ "การเสียสละ" อย่างนี้อย่างแน่นอน
สิ่งที่ผมไม่เข้าใจคือคุณยึดสนามบินเพื่ออะไร ถ้าจะยึดเพื่อสร้างความชอบธรรม คุณก็จะต้องอธิบายให้มวลชนที่อยู่ในสนามบินทราบว่าคุณกำลังทำอะไร คุณจะไม่ล่วงละเมิดสิทธเสรีภาพส่วนบุคคลของผู้โดยสารอย่างไร
จะดีมาก ๆ ถ้าพวกเขาจะก่อม็อบโดยไม่ต้องกระทบกับตารางการบิน ในเมื่อสิ่งที่เขาต้องการคือตัวนายกฯ ที่กำลังจะบินกลับจากเปรู แล้วมวลชนคนอื่น ๆ เขาไปรู้เรื่องอะไรด้วย?
การยึดทำเนียบถือว่าเป็นการดูหมิ่นสถาบันบริหาร แต่ยังไม่ร้ายเท่ากับการยึดสนามบิน เพราะการยึดทำเนียบรัฐบาลมีผลกระทบต่อคนที่ทำงานในทำเนียบเพียงไม่กี่ร้อยหรือพันคน
แต่การยึดสนามบินเพื่อสร้างสถานการณ์รุนแรง กระทบโดยตรงต่อผู้โดยสารหลายพันคนที่อยู่ในสนามบินเวลานั้น และอีกหลายหมื่นคนที่ต้องเลื่อนเวลาการบินในวันต่อ ๆ ไป ผมถือว่าพันธมิตรหมดความชอบธรรมในการกู้ชาติแล้วครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)