นับย้อนหลังไป 12 เดือน ผมได้ไปเยือนต่างประเทศมาถึง 4 ประเทศ
เป็นปีที่ผมเดินทางต่างประเทศมากที่สุดตั้งแต่เกิดมา (32 ปีที่แล้ว)
ประเทศแรกคือจีน ไปเยือนนครเซียงไฮ้ (ซึ่งต้องอ่านออกเสียงว่าซั่งไห่) คนที่นั่นกระตือรือร้นมาก เหมือนที่เราเคยเห็นในหนังว่าคนญี่ปุ่นเดินด้วยความเร่งรีบตอนเช้าตอนที่จะไปทำงาน ไม่มองซ้ายมองขวา แบบนั้นเลย อาคารสูง ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ถ้าเทียบกับไทยก็ต้องสีลม ประมาณนั้น แต่เขาต่างจากเราตรงที่อาคารเก่า ๆ ถูกรื้อถอนเกือบหมด เพราะเป็นนโยบายของรัฐในการสร้างเมืองให้ทันสมัย
ผมเพิ่งได้เห็นกับตาว่าจีนกำลังพัฒนาอย่างรีบเร่ง..... แต่มั่นคง
ประเทศต่อมาคือฟิลิปปินส์ ผมกลับมาแล้วบอกกับใครต่อใครว่าฟิลิปปินส์คือประเทศคู่แฝดของไทย ทุกอย่างเหมือนไทย แต่เขาไม่พูดไทย การกินอยู่เหมือนบ้านเรา แต่ไม่กินเผ็ด เขามีผลไม้หลายอย่างเหมือนบ้านเรา
ผมเลยได้เห็นกับตาว่าที่เขาว่าคนฟิลิปปินส์เหมือนคนไทยมากที่สุด มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
ผมได้ไปศรีลังกาเป็นลำดับที่ 3 และพบว่าการเป็นคนพุทธเหมือนกันทำให้เราเข้ากันได้ง่าย นิสัยต่าง ๆ รวมถึง "ความเกรงใจ" ที่คนไทยถือกันอย่างมาก เขาก็มีเหมือนเรา อาหารการกินต่างกันเล็กน้อย รสชาติไปทางแขกเหมือนอาหารอินเดีย แต่เขามีธรรมเนียมที่จะหยุดทุกวันขึ้น 15 ค่ำ ไปทำบุญที่วัด
ผมได้เห็นกับตาว่าพุทธศรีลังกา กับพุทธไทยเหมือนกันอย่างนี้นี่เอง
ล่าสุดไปเยือนเวียดนาม มีปัญหาการกินน้อยที่สุด รสชาติเหมือนอาหารไทย แต่ที่ทำให้ผมรู้สึกผิดที่สุดคือการมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อคนเวียดนามมานาน แต่พอไปถึงประเทศของเขา เขากลับกลายเป็นคนที่มีน้ำใจต่อเรามาก ๆ ไม่ใช่เฉพาะคนที่พาเราไป แต่รวมไปถึงทุกคนที่เราได้พบ ผมสรุปเอาเองว่าเป็นเพราะค่าของเงินที่ต่างกัน เงินของเขา 470 ดองเท่ากับเงินไทย 1 บาท ดังนั้นเมื่อเขามาอยู่เมืองไทย เขาจึงต้องประหยัดกระเหม็ดกระแหม่อย่างเต็มที่ จนเราคิดว่าเขาเป็นคนคิดเล็กคิดน้อย ไม่มีน้ำใจ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมาก
ผมมองกลับไปประเทศเวียดนาม และรู้สึกดี ๆ กับพวกเขา คนเวียดนามเป็นคนมีน้ำใสใจจริง
ผ่านมา 4 ประเทศ ผมรู้จักเอเชียมากขึ้นมากเลย
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550
วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2550
นาฏยศาลากับทิฟฟานีโชว์
เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้สูญเสียศิลปินแห่งชาติไปท่านหนึ่งคือ อ.สาคร ยังเขียวสด ผู้ก่อตั้ง โรงละครโจหลุยส์ เธียร์เตอร์ หรือ นาฏยศาลา ผมขอแสดงความเสียใจมา ณ ที่นี้ ทั้งต่อครอบครัวของท่าน ต่อนาฏยศาลา และต่อวงการศิลปะไทย
ผมเคยชมการแสดงของนาฏยศาลา 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งมาแสดงนอกสถานที่ และอีกครั้งหนึ่งผมไปชมที่โรงละครที่ตั้งอยู่ที่สวนลุมไนท์บาซาร์ ผมขอบอกว่าประทับใจทั้ง 2 ครั้ง และรู้สึกทึ่งว่าเขาทำให้หุ่นมีชีวิตขนาดนั้นได้อย่างไร
เสียดายอยู่นิดเดียวว่า ตอนที่ผมไปชมที่นาฏยศาลานั้น มีคนเข้าชมแค่ประมาณ 10 คนเท่านั้นเอง แต่นักแสดง (ซึ่งมีมากกว่าคนดู) ก็ยังแสดงกันเต็มที่ ทั้ง ๆ ที่ผมประเมินแล้วว่าการแสดงรอบนั้นน่าจะขาดทุน แต่ THE SHOW MUST GO ON.
ผมพาแขกชาวต่างชาติไปชมด้วยในวันนั้น เขาเป็นคนศรีลังกา ซึ่งมีพื้นฐานความรู้เรื่องรามายณะอยู่แล้ว จึงพอจะเข้าใจเรื่องได้ แต่ไม่อาจเข้าใจบทร้องที่เป็นภาษาไทยได้ ตรงนี้ผมรู้สึกเสียดายแทนเขามาก ๆ เลย เพราะการร้องก็เป็นศิลปะที่ลึกซึ้งอีกอย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่เขาจะรับทราบเรื่องราวผ่านท่าทางและ subtitle ภาษาอังกฤษที่ขึ้นอยู่จอข้าง ๆ
ผมแอบเห็นว่าเขาไม่ค่อยจะรู้สึกประทับใจสักเท่าไร หรือน่าจะเรียกว่าเขาไม่สามารถเข้าถึงรสชาติที่แท้จริง แบบที่คนไทยเข้าถึงได้ จะถูกต้องกว่า
บังเอิญในการท่องเที่ยวคราวนั้น ไกด์จำเป็นอย่างผมก็ได้พาเขาไปดูทิฟฟานีโชว์ที่พัทยาด้วย ทีแรกผมคิดจะไปสยามนิรมิต แต่ค่าบัตรแพงมาก ตั้ง 1,500 บาท ผมเลยยอมเดินทางไกลไปถึงพัทยา พาไปชมเมืองจำลองกับพิพิธภัณฑ์ Ripley's Believe it or Not! ด้วย ปรากฏว่าเขาชอบทิฟฟานีโชว์ และประทับใจอย่างเห็นได้ชัด และผู้ชมก็มีมากมายหลายร้อยคน แตกต่างกับที่โรงละครโจหลุยส์อย่างสิ้นเชิง
เปรียบเทียบการแสดง 2 อย่างนี้แล้ว ถ้าใครถามผมว่าอันไหนดีกว่ากัน ผมว่าละครหุ่นเล็กของนาฏยศาลาเหนือกว่าเยอะในแง่ความเป็นศิลปะ ส่วนทิฟฟานีโชว์มีจุดเด่นแค่เรื่องเสื้อผ้า และเทคนิคฉากเท่านั้น แต่ทำไมทิฟฟานีโชว์จึงมีผู้ชมมากกว่า? เพราะเป็นศิลปะที่เข้าใจง่ายกว่า ไม่มีบทละคร มีแต่การแสดงประกอบเพลง ซึ่งเป็นเพลงต่างประเทศเกือบทั้งหมด เมื่อเข้าใจง่าย ก็เลยมีคนมาชมมาก ในแง่ธุรกิจจึงประสบคามสำเร็จมากกว่านาฏยศาลา แต่ผมไม่ทราบข้อมูลภายในหรอกนะว่าเขาแบ่งเปอร์เซนต์ให้บริษัททัวร์กันยังไง อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดึงลูกค้าได้มากขึ้นก็ได้
มันเป็นกฎของการทำธุรกิจเลยล่ะ ถ้าใครอยากจะประสบความสำเร็จต้องเขาให้ถึงลูกค้า และทำให้ลูกค้าเข้าใจคุณลักษณะของสินค้าที่แท้จริงด้วย ถ้าเขาซื้อของเราเพียงเพราะคนอื่นบอกว่าดี แต่เขาลองใช้แล้วไม่ประทับใจ เราก็จะขายให้เขาได้แค่ครั้งเดียว ไม่มีครั้งที่สอง แต่ถ้าเราทำให้เขาประทับใจได้ตั้งแต่แรกพบ เราก็จะได้ค้าขายกันในระยะยาว
ผมอยากให้โรงละครของอ.สาครคงอยู่คู่แผ่นดินไทยไปอีกนานเท่านาน แต่โรงละครควรอยู่ด้วยเงินจากผู้ชม ไม่ใช่เงินสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม การจะทำให้โรงละครคงอยู่ต่อไป ต้องจัดการแสดงใหม่ ให้ผู้ชมต่างประเทศเข้าถึงได้ง่าย เช่นครั้งหนึ่งผมเคยเห็นเขาทำหุ่น Elvis Presley ออกมาเต้นในจังหวะ Rock 'n Roll สนุกมากเลย ผมว่าเป็นแนวทางที่ดี และน่าจะทำอีกหลาย ๆ หุ่น เพราะผมคิดว่าการเอาศิลปะไทยมาประยุกต์เข้ากับเนื้อเรื่องของต่างประเทศ ก็เป็นการ "ออกลวดลาย" ของศิลปะไทยอย่างหนึ่ง น่าจะทดลองเริ่มทำรอบ International Show สัปดาห์ละ 1 วันเรียกแขกต่างชาติไปดูหน่อย ถ้ามีลูกค้าต่างประเทศมากขึ้น ก็ค่อยเพิ่มรอบเป็นสัปดาห์ละ 2 วัน 3 วัน แต่ยังไงเสียผมต้องขอไว้ 2 วันในรอบสัปดาห์ให้คนไทยได้ชมศิลปะแบบดั้งเดิม เป็นละครเรื่องรามเกียรติ์ โดย 2 วันที่ขอไว้คือวันพฤหัสบดี เพราะเป็นวันครู และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันครอบครัว
นาฏยศาลามีจุดแข็งประการหนึ่งคือตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพ สามารถรองรับแขกต่างชาติที่ต้องการชมศิลปะไทย ๆ หลังอาหารเย็นได้สบาย ๆ แถมช่วงรอเวลายังสามารถช็อปปิ้งในสวนลุมไนท์บาซาร์ได้อีก เป็นที่ตั้งที่ดีมาก ๆ แต่ต้องจัดที่จอดรถไว้ให้รถทัวร์เข้าได้ด้วยนะครับ
ผมเคยชมการแสดงของนาฏยศาลา 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งมาแสดงนอกสถานที่ และอีกครั้งหนึ่งผมไปชมที่โรงละครที่ตั้งอยู่ที่สวนลุมไนท์บาซาร์ ผมขอบอกว่าประทับใจทั้ง 2 ครั้ง และรู้สึกทึ่งว่าเขาทำให้หุ่นมีชีวิตขนาดนั้นได้อย่างไร
เสียดายอยู่นิดเดียวว่า ตอนที่ผมไปชมที่นาฏยศาลานั้น มีคนเข้าชมแค่ประมาณ 10 คนเท่านั้นเอง แต่นักแสดง (ซึ่งมีมากกว่าคนดู) ก็ยังแสดงกันเต็มที่ ทั้ง ๆ ที่ผมประเมินแล้วว่าการแสดงรอบนั้นน่าจะขาดทุน แต่ THE SHOW MUST GO ON.
ผมพาแขกชาวต่างชาติไปชมด้วยในวันนั้น เขาเป็นคนศรีลังกา ซึ่งมีพื้นฐานความรู้เรื่องรามายณะอยู่แล้ว จึงพอจะเข้าใจเรื่องได้ แต่ไม่อาจเข้าใจบทร้องที่เป็นภาษาไทยได้ ตรงนี้ผมรู้สึกเสียดายแทนเขามาก ๆ เลย เพราะการร้องก็เป็นศิลปะที่ลึกซึ้งอีกอย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่เขาจะรับทราบเรื่องราวผ่านท่าทางและ subtitle ภาษาอังกฤษที่ขึ้นอยู่จอข้าง ๆ
ผมแอบเห็นว่าเขาไม่ค่อยจะรู้สึกประทับใจสักเท่าไร หรือน่าจะเรียกว่าเขาไม่สามารถเข้าถึงรสชาติที่แท้จริง แบบที่คนไทยเข้าถึงได้ จะถูกต้องกว่า
บังเอิญในการท่องเที่ยวคราวนั้น ไกด์จำเป็นอย่างผมก็ได้พาเขาไปดูทิฟฟานีโชว์ที่พัทยาด้วย ทีแรกผมคิดจะไปสยามนิรมิต แต่ค่าบัตรแพงมาก ตั้ง 1,500 บาท ผมเลยยอมเดินทางไกลไปถึงพัทยา พาไปชมเมืองจำลองกับพิพิธภัณฑ์ Ripley's Believe it or Not! ด้วย ปรากฏว่าเขาชอบทิฟฟานีโชว์ และประทับใจอย่างเห็นได้ชัด และผู้ชมก็มีมากมายหลายร้อยคน แตกต่างกับที่โรงละครโจหลุยส์อย่างสิ้นเชิง
เปรียบเทียบการแสดง 2 อย่างนี้แล้ว ถ้าใครถามผมว่าอันไหนดีกว่ากัน ผมว่าละครหุ่นเล็กของนาฏยศาลาเหนือกว่าเยอะในแง่ความเป็นศิลปะ ส่วนทิฟฟานีโชว์มีจุดเด่นแค่เรื่องเสื้อผ้า และเทคนิคฉากเท่านั้น แต่ทำไมทิฟฟานีโชว์จึงมีผู้ชมมากกว่า? เพราะเป็นศิลปะที่เข้าใจง่ายกว่า ไม่มีบทละคร มีแต่การแสดงประกอบเพลง ซึ่งเป็นเพลงต่างประเทศเกือบทั้งหมด เมื่อเข้าใจง่าย ก็เลยมีคนมาชมมาก ในแง่ธุรกิจจึงประสบคามสำเร็จมากกว่านาฏยศาลา แต่ผมไม่ทราบข้อมูลภายในหรอกนะว่าเขาแบ่งเปอร์เซนต์ให้บริษัททัวร์กันยังไง อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดึงลูกค้าได้มากขึ้นก็ได้
มันเป็นกฎของการทำธุรกิจเลยล่ะ ถ้าใครอยากจะประสบความสำเร็จต้องเขาให้ถึงลูกค้า และทำให้ลูกค้าเข้าใจคุณลักษณะของสินค้าที่แท้จริงด้วย ถ้าเขาซื้อของเราเพียงเพราะคนอื่นบอกว่าดี แต่เขาลองใช้แล้วไม่ประทับใจ เราก็จะขายให้เขาได้แค่ครั้งเดียว ไม่มีครั้งที่สอง แต่ถ้าเราทำให้เขาประทับใจได้ตั้งแต่แรกพบ เราก็จะได้ค้าขายกันในระยะยาว
ผมอยากให้โรงละครของอ.สาครคงอยู่คู่แผ่นดินไทยไปอีกนานเท่านาน แต่โรงละครควรอยู่ด้วยเงินจากผู้ชม ไม่ใช่เงินสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม การจะทำให้โรงละครคงอยู่ต่อไป ต้องจัดการแสดงใหม่ ให้ผู้ชมต่างประเทศเข้าถึงได้ง่าย เช่นครั้งหนึ่งผมเคยเห็นเขาทำหุ่น Elvis Presley ออกมาเต้นในจังหวะ Rock 'n Roll สนุกมากเลย ผมว่าเป็นแนวทางที่ดี และน่าจะทำอีกหลาย ๆ หุ่น เพราะผมคิดว่าการเอาศิลปะไทยมาประยุกต์เข้ากับเนื้อเรื่องของต่างประเทศ ก็เป็นการ "ออกลวดลาย" ของศิลปะไทยอย่างหนึ่ง น่าจะทดลองเริ่มทำรอบ International Show สัปดาห์ละ 1 วันเรียกแขกต่างชาติไปดูหน่อย ถ้ามีลูกค้าต่างประเทศมากขึ้น ก็ค่อยเพิ่มรอบเป็นสัปดาห์ละ 2 วัน 3 วัน แต่ยังไงเสียผมต้องขอไว้ 2 วันในรอบสัปดาห์ให้คนไทยได้ชมศิลปะแบบดั้งเดิม เป็นละครเรื่องรามเกียรติ์ โดย 2 วันที่ขอไว้คือวันพฤหัสบดี เพราะเป็นวันครู และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันครอบครัว
นาฏยศาลามีจุดแข็งประการหนึ่งคือตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพ สามารถรองรับแขกต่างชาติที่ต้องการชมศิลปะไทย ๆ หลังอาหารเย็นได้สบาย ๆ แถมช่วงรอเวลายังสามารถช็อปปิ้งในสวนลุมไนท์บาซาร์ได้อีก เป็นที่ตั้งที่ดีมาก ๆ แต่ต้องจัดที่จอดรถไว้ให้รถทัวร์เข้าได้ด้วยนะครับ
วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ศาสนาประจำชาติ
พักนี้มีคนพูดถึงการบรรจุคำว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" ลงในรัฐธรรมนูญ
ฝ่ายที่เห็นด้วยบอกว่าความจริงมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เราก็แค่เขียนให้ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพื่อตอกย้ำให้ชัด ๆ
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยบอกว่าก็เมื่อความจริงมันเป็นอยู่อย่างนั้น จะเขียนหรือไม่เขียนก็ไม่ต่างกัน แต่การเขียนจะทำให้เกิดความแตกแยกกันเปล่า ๆ
ผมอยู่ฝ่ายหลัง และผมอยากจะให้มีอาจารย์รับศาสตร์สักคนอกมาวิเคราะห์ให้พวกเราฟังว่า ประเทศอื่นที่เขาประกาศศาสนาประจำชาติอย่างชัดเจนในรับธรรมนูญนั้น มันทำให้เกิดผลทางรูปธรรมอย่างไรบ้าง เช่น สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน หรืออิหร่าน พอเขาบัญญัติแล้ว จะมีผลทางกฎหมายลูกที่จะออกตามมาหรือเปล่า ผมอยากให้ทุกคนเห็นว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ตอนยังไม่เกิดปัญหา ก็อ่านกันผ่าน ๆ ไป พอเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ก็กลับไปเค้นกันทีละคำพูด เอาแว่นขยายมาส่องดูว่ามีเว้นวรรคหรือเปล่า ใช้คำว่าและ หรือคำว่าหรือ จนท่าน สสร. ทั้งหลายต้องออกมาบอกว่าเจตนารมณ์ตอนนั้นเป็นอย่างนี้ ๆ แล้วก็จบที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน กว่าจะจบแต่ละคดีต้องทะเลาะกันวุ่นวาย
เพราะฉะนั้นอย่าตอบกันตามความรู้สึก
ต้องตอบโดยหลักการทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
ผมชอบคำพูดเดิมคือ "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก" หมายความว่าพระมหากษัตริย์ทรงนับถือศาสนาพุทธ และเมื่อทรงนับถือศาสนาพุทธแล้ว ก็เป็นหลักประกันว่าราชอาณาจักรแห่งนี้จะไม่ต่อต้านศาสนาอื่นๆ เพราะศาสนาพุทธสอนให้เรามีเมตตา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น แต่ก็เป็นหลักประกันเช่นกันว่าศาสนาพุทธจะไม่เลือนหายไปเช่นกัน ผมคิดว่าลงตัวที่สุดแล้วนะ ไม่ควรไปเขียนว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
สิ่งที่ผมกลัวคือ ผมไม่รู้ว่าคนที่กำลังเสนอเรื่องนี้เขาคิดอะไรอยู่ ตอนนี้ขอบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อนาคตอาจจะบอกว่าประเทศไทยต้องไม่มีเหล้า ไม่มีรูปโป๊ ไม่มีสถานบริการ ห้ามใส้เสื้อผ้าแฟชั่นที่ "ส่อ" ฯลฯ และกฎหมายทุกฉบับต้องสอดคล้องกับศีล 5 เพราะทั้งหมดที่กล่าวมา ขัดกับหลักของศาสนาประจำชาติ สิ่งเหล่านี้ ผมไม่รู้ว่าเขาคิดอะไรอยู่ ลองนึกภาพสิ ถ้าเราไปอยู่ในอิหร่าน แล้วเขาให้เราท่องวันละ 5 เวลาว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ เราจะชอบหรือเปล่า ไทยมุสลิม 5 จังหวัดภาคใต้เขาจะรู้สึกอย่างไรที่พบว่าพวกเขาไม่ได้เป็นคนไทยอย่างงั้นหรือ
พวกเรารวมกันอยู่ในประเทศไทยด้วยความหลากหลาย จึงอยู่ร่วมกันได้ ถ้าเราทุกคนเหมือนกัน เราก็ไม่ใช่สังคม เป็นแค่กลุ่มของ Homo sapiens เท่านั้น
ฝ่ายที่เห็นด้วยบอกว่าความจริงมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เราก็แค่เขียนให้ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพื่อตอกย้ำให้ชัด ๆ
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยบอกว่าก็เมื่อความจริงมันเป็นอยู่อย่างนั้น จะเขียนหรือไม่เขียนก็ไม่ต่างกัน แต่การเขียนจะทำให้เกิดความแตกแยกกันเปล่า ๆ
ผมอยู่ฝ่ายหลัง และผมอยากจะให้มีอาจารย์รับศาสตร์สักคนอกมาวิเคราะห์ให้พวกเราฟังว่า ประเทศอื่นที่เขาประกาศศาสนาประจำชาติอย่างชัดเจนในรับธรรมนูญนั้น มันทำให้เกิดผลทางรูปธรรมอย่างไรบ้าง เช่น สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน หรืออิหร่าน พอเขาบัญญัติแล้ว จะมีผลทางกฎหมายลูกที่จะออกตามมาหรือเปล่า ผมอยากให้ทุกคนเห็นว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ตอนยังไม่เกิดปัญหา ก็อ่านกันผ่าน ๆ ไป พอเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ก็กลับไปเค้นกันทีละคำพูด เอาแว่นขยายมาส่องดูว่ามีเว้นวรรคหรือเปล่า ใช้คำว่าและ หรือคำว่าหรือ จนท่าน สสร. ทั้งหลายต้องออกมาบอกว่าเจตนารมณ์ตอนนั้นเป็นอย่างนี้ ๆ แล้วก็จบที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน กว่าจะจบแต่ละคดีต้องทะเลาะกันวุ่นวาย
เพราะฉะนั้นอย่าตอบกันตามความรู้สึก
ต้องตอบโดยหลักการทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
ผมชอบคำพูดเดิมคือ "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก" หมายความว่าพระมหากษัตริย์ทรงนับถือศาสนาพุทธ และเมื่อทรงนับถือศาสนาพุทธแล้ว ก็เป็นหลักประกันว่าราชอาณาจักรแห่งนี้จะไม่ต่อต้านศาสนาอื่นๆ เพราะศาสนาพุทธสอนให้เรามีเมตตา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น แต่ก็เป็นหลักประกันเช่นกันว่าศาสนาพุทธจะไม่เลือนหายไปเช่นกัน ผมคิดว่าลงตัวที่สุดแล้วนะ ไม่ควรไปเขียนว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
สิ่งที่ผมกลัวคือ ผมไม่รู้ว่าคนที่กำลังเสนอเรื่องนี้เขาคิดอะไรอยู่ ตอนนี้ขอบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อนาคตอาจจะบอกว่าประเทศไทยต้องไม่มีเหล้า ไม่มีรูปโป๊ ไม่มีสถานบริการ ห้ามใส้เสื้อผ้าแฟชั่นที่ "ส่อ" ฯลฯ และกฎหมายทุกฉบับต้องสอดคล้องกับศีล 5 เพราะทั้งหมดที่กล่าวมา ขัดกับหลักของศาสนาประจำชาติ สิ่งเหล่านี้ ผมไม่รู้ว่าเขาคิดอะไรอยู่ ลองนึกภาพสิ ถ้าเราไปอยู่ในอิหร่าน แล้วเขาให้เราท่องวันละ 5 เวลาว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ เราจะชอบหรือเปล่า ไทยมุสลิม 5 จังหวัดภาคใต้เขาจะรู้สึกอย่างไรที่พบว่าพวกเขาไม่ได้เป็นคนไทยอย่างงั้นหรือ
พวกเรารวมกันอยู่ในประเทศไทยด้วยความหลากหลาย จึงอยู่ร่วมกันได้ ถ้าเราทุกคนเหมือนกัน เราก็ไม่ใช่สังคม เป็นแค่กลุ่มของ Homo sapiens เท่านั้น
วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)